พรบ รถยนต์

พ.ร.บ.รถยนต์ คืออะไร มีของดีอยู่กับตัว ต้องใช้ให้เป็น..

พรบ.รถยนต์

สำหรับคนที่มีรถยนต์ คงจะรู้จัก พ.ร.บ.เป็นอย่างดี เพราะการทำ พรบ. ถือว่าเป็นประกันภัยภาคบังคับ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535และแก้ไขเพิ่มเติม  แต่เชื่อไหมว่า ถึงแม้รถทุกคันจะต้องทำ พ.ร.บ.  แต่น้อยมากที่จะรู้ว่า พ.รบ.รถยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง

เมื่อพูดถึงการคุ้มครอง ผู้ทำประกันภัยจะนึกถึง ประกันรถยนต์ชั้น1 ชั้น 2 ชั้น 3 เป็นส่วนใหญ่  ซึ่งจริง ๆ แล้ว การทำประกันภัยตาม พ.ร.บ. รถยนต์ ก็สามารถคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยนต์ได้เช่นกัน

ซึ่งรถที่ต้องทำประกันภัยตาม พ.ร.บ. ได้แก่ รถทุกชนิด ทุกประเภทตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ กฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก และกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ทหาร

ผู้ที่ต้องต่อประกันภัย พ.ร.บ.รถยนต์ เป็นใคร

สำหรับคนที่ต้องต่อ พ.ร.บ.รถยนต์  คือ เจ้าของรถ ผู้ครอบครองรถในฐานะผู้เช่าซื้อรถยนต์

ผู้ที่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. มีใครบ้าง

ผู้ที่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. คือ ผู้ประสบภัยจากรถ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร คนเดินเท้า  ได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย จากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากรถที่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.  ซึ่งมีความคุ้มครองเบื้องต้น ดังนี้

ค่าเสียหายเบื้องต้นที่ผู้ประสบภัยจะได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.รถยนต์  คือค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บและเป็นค่าปลงศพในกรณีเสียชีวิต โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด ซึ่งบริษัทจะชดใช้ให้แก่ผู้ประสบภัย/ทายาท ภายใน 7 วัน นับแต่บริษัทได้รับคำร้องขอค่าเสียหาย  ดังนี้

พรบ.รถยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง

1 กรณีบาดเจ็บ จะได้รับการชดใช้เป็นค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายจริง ไม่เกิน 30,000 บาทต่อหนึ่งคน

2 กรณีทุพพลภาพ อย่างใดอย่างหนึ่ง บริษัทจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นไม่เกิน 35,000 บาทต่อหนึ่งคน

3 กรณีบาดเจ็บ ตามข้อ1 และต่อมาทุพพลภาพตามข้อ 2  บริษัทจะจ่ายรวมไม่เกิน 65,000 บาทต่อคน

4 กรณีเสียชีวิตจะได้รับค่าชดใช้เป็นค่าปลงศพ จำนวน 35,000บาทต่อหนึ่งคน

5 กรณีเสียชีวิตภายหลังการรักษาพยาบาล ตามข้อ 1  จะจ่ายรวมไม่เกิน 65,000 บาท

อ่านเพิ่มเติม : พ.ร.บ.รถยนต์ หรือประกันภาคบังคับ…คุ้มครองอะไรบ้าง? | ฉบับย่อ เข้าใจง่าย

ความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. หากเกิดความเสียหายตั้งแต่ 2 คันขึ้นไป

ที่ทำให้ผู้ซึ่งอยู่ในรถไม่ว่าจะเป็นผุ้ขับขี่ ผู้โดยสาร ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ให้บริษัทประกันภัยรถของแต่ละคันจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยซึ่งอยู่ในรถคันที่บริษัทประกันภัยไว้ แต่ถ้าผู้ประสบภัยเป็นบุคคลภายนอกไม่ได้อยู่ในรถ ให้บริษัทร่วมกันจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัยโดยเฉลี่ยจ่ายในอัตราเท่ากัน

เอกสารที่ต้องเตรียมเพื่อขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น จาก พ.ร.บ.รถยนต์

กรณีบาดเจ็บ

1 ใบเสร็จจากโรงพยาบาล

2 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

3 กรณีทุพพลภาพให้ขอใบรับรองแพทย์หรือหลักฐานความเห็นของแพทย์ที่ระบุว่าเป็นผู้ประสบภัยซึ่งทุพพลภาพ และบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวนที่ได้รับความเสียหายจากการประสบภัยจากรถ

กรณีเสียชีวิต

1 สำเนาใบมรณบัตร

2 สำเนาบันทึกประจำวันพนักงานสอบสวน

3 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

อ่านเพิ่มเติม : พ.ร.บ.รถยนต์ มีค่ามากกว่ากระดาษใบหนึ่ง มาดูกันว่าสามารถเบิกค่าอะไรได้บ้าง

จะเห็นได้ว่าจริงๆแล้ว การทำประกันภัย พ.ร.บ.รถยนต์ ผู้ประสบภัยจากรถยนต์ก็สามารถได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.รถยนต์ได้เช่นกัน  ไม่ว่าจะเป็นกรณีบาดเจ็บ ทุพพลภาพ เสียชีวิต  ประกันภัย พ.ร.บ.ก็ให้ความคุ้มครอง แต่ความคุ้มครองที่ได้รับเป็นเพียงค่าความเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งบางครั้งเป็นการเกิดอุบัติเหตุที่รุนแรง มีความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินมาก เมื่อเทียบกับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ. รถยนต์ เพียงอย่างเดียวอาจจะไม่สามารถชดเชยได้หมด ดังนั้น ผู้ใช้รถ จึงนิยมที่จะทำประกันภัยรถยนต์เพิ่ม เพื่อที่จะได้รับความคุ้มครองที่มากกว่า

ถึงแม้ว่ารถยนต์ทุกคันจะต้องทำ ประกันภัย พ.ร.บ.ทุกคัน  และผู้ประสบภัยก็สามารถขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นได้ แต่อุบัติสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเวลา ดังนั้น ผู้ขับขี่จึงควรระมัดระวัง ตรวจสภาพรถให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ และปฏิบัติตามกฎจราจร มีน้ำใจต่อผุ้ใช้รถใช้ถนนด้วยกัน ก็จะทำให้อุบัติเหตุลดน้อยลง

แต่หากยังไม่อุ่นใจ เกรงว่าจะเกิดอุบัติเหตุ และกังวลเกี่ยวกับค่าเสียหายที่จะเกิดขึ้นแบบฉุกเฉิน ที่คงจะรับสถานการณ์ไม่ทันแน่ ก็ควรจะทำ ประกันภัยรถยนต์ ไว้ ไม่ว่าจะเป็นประกันภัยชั้น 1 ประกันภัยชั้น2 ประกนภัยชั้น 3ก็จะช่วยเพิ่มความอุ่นใจและความคุ้มครองที่มากขึ้น

เมื่อรู้แบบนี้แล้ว ผู้ขับขี่รถยนต์ที่ทำประกันภัย พ.ร.บ. เพียงอย่างเดียว ก็พึงระมัดวังในการขับขี่ เพราะถึงแม้ว่า พ.ร.บ.รถยนต์ จะมีความคุ้มครอง ทั้งกรณีบาดเจ็บ ทุพพลภาพ และเสียชีวิต แต่ก็ถือว่าได้รับค่าความเสียหายน้อยมากหากเมื่อเทียบกับความ ทางที่ดีควรมีวินัยในการขับขี่รถ ปฏิบัติตามกฎจราจร จะดีที่สุดค่ะ และหากพบว่า พ.ร.บ. รถยนต์กำลังจะหมดความคุ้มครอง อย่าลืมทำเรื่อง ต่อ พรบ รถยนต์ ไว้ด้วยล่ะ

Loading

35 thoughts on “พ.ร.บ.รถยนต์ คืออะไร มีของดีอยู่กับตัว ต้องใช้ให้เป็น..

  1. Pingback: ประกันวินาศภัย คืออะไร มีกี่ประเภท มาทำความรู้จักไปพร้อมกันเลย ในปี 2562

  2. อนุศรณ์ says:

    กรณีรถยนต์ขับมาทางตรงแลนกว่า แต่รถจักยานยนต์ขับอยู่แลนซ้าย ทางข้างหน้าเป็นยูเทินร์แล้วจักยานยนต์ขับตัดหน้าเพื่อยูเทินร์กระทันหัน รถยนต์ชนคู่กรณีเสียชีวิตที่รพ. แล้วมีคนนั้งซ้อนท้ายรถจักยนต์บาดเจ็บ กรณีแบบนี้ถ้าตำรวจตั้งข้อหาเป็นประมาทร่วม
    ทางรถยนต์จะมีค่าจ่ายอะรัยเพิ่มใมครับ แล้วทางคนคนเจ็บหรือคู่กรณีที่เสียชีวิตมีสิทธิ์ฟ้องค่าเสียหายกับทางรถยนต์ใมครับ

  3. Pingback: ญาติโดนรถชนเสียชีวิตคาที่ เรียกร้องอะไรได้บ้าง - Easyinsure

  4. Pingback: 5 บริษัทประกันภัยรถยนต์ ที่ไหนดี ที่หลายคนยกนิ้วให้ว่าดีที่สุดในประเทศ

  5. Pingback: โชคร้าย มาเยือน ! ขับรถชน ใบขับขี่หมดอายุ เคลมประกันได้หรือไม่ ที่นี่มีคำตอบ !

  6. Pingback: เช่ารถขับ แล้วเกิดอุบัติเหตุ แต่รถไม่มีประกันแบบนี้ใครเป็นผู้รับผิดชอบ

  7. Pingback: พ.ร.บ.รถยนต์ กับ ภาษีรถยนต์ ต่างกันอย่างไร ทำไมถึงหมดไม่พร้อมกัน

  8. Pingback: กฎหมายห้ามนั่งท้ายกระบะ ตอนนี้นั่งท้ายกระบะได้ไหม โดนปรับเท่าไหร่ ในปี 2562

  9. Pingback: ชวนส่องดู กรมธรรม์ประกันภัย แต่ละประเภทว่ามีความคุ้มครองอย่างไรบ้าง ?

  10. Pingback: ขาดต่อภาษีรถยนต์ 2 ปี หรือ 3 ปี ต้องทำอย่างไร รับรองขั้นตอนไม่ยุ่งยากอย่างที่คิด

  11. Pingback: เอกสาร ต่อภาษีรถยนต์ใช้อะไรบ้าง อ่านจบแล้วพร้อมไปทำเรื่องได้เลยในทันที !

  12. Pingback: ต่อภาษีรถยนต์ ต่อทะเบียนรถยนต์ ใช้เอกสารอะไรบ้าง ราคาเท่าไหร่ Update 2019

  13. Pingback: พ.ร.บ.รถยนต์ มีค่ามากกว่ากระดาษใบหนึ่ง มาดูกันว่าสามารถเบิกค่าอะไรได้บ้าง

  14. Pingback: ต่อ พรบ. รถยนต์ ใช้อะไรบ้าง ราคาเท่าไหร่ | ถ้าไม่รีบต่อเตรียมถูกปรับได้เลย !

  15. Pingback: ทำประกันภัยชั้น 3 รู้ยังว่าคุ้มครองอะไรบ้าง? | ฉบับย่อ 5 นาทีก็เข้าใจ

  16. Pingback: จะสมัครสอบนายหน้าประกันภัย ต้องทำอะไรบ้าง คนที่กำลังสนใจ ห้ามพลาด !

  17. อรณิชา says:

    ขอสอบถามค่ะในกรณีที่ คู่กรณีได้รับบาดเจ็บแล้วเรียกร้องค่าสินไหม จึงนับกันไปที่สน.พร้อมทั้งคู่กรณีและตัวแทนจากพรบ.ตำรวจได้ตัดสินให้เป็นประมาทร่วมทั้งสองฝ่าย แบบนี้เรายังสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลที่สำรองจ่ายไปก่อนได้มั้ย ทางเราได้เอาเอกสารไปยื่นที่สำนักงานใหญ่แล้วเขาบอกขอพิจารณาเรื่องก่อนแล้วจะติดต่อกลับมาแต่ก็เงียบไปเลยเป็นเดือนแล้ว

    • มัลลิกา says:

      ขอถามคะถ้าโดนมอไซชนกระเด็นไปโดนรถเก๋งทับเสียชีวิต พรบเราสามารถได้ทั้งสองคันมั้ยคะเราต้องเลือกคันใดคันนึงเป็นคนผิดหรือเปล่าแล้วเราจะเรียกค่าสินไหมทดแทนได้จากทั้งสองฝ่ายได้มั้ยนอกจากประกันพรบจ่ายคะช่วยอธิบายนิดคะเรายังเรียกร้องสิทอะไรได้มั่งคะเพราะเสาหลักของครอบครัวคะ

      • easyinsure says:

        เรียนคุณ : มัลลิกา

        แบบนี้ผมขอแยกออกเป็นกรณีๆ ดังนี้ครับ

        1. รถมอเตอร์ไซต์ชนกระเด็นไปโดนรถเก๋งทับเสียชีวิต พ.ร.บ. เราสามารถได้ทั้งสองคันไหม ?
        ตอบ พ.ร.บ. สามารถเรียกได้แค่คันใดคันหนึ่งครับ

        2. เราต้องเลือกคันใดคันนึงเป็นคนผิดหรือเปล่า แล้วเราจะเรียกค่าสินไหมทดแทนได้จากทั้งสองฝ่ายได้ไหม นอกจาก พ.ร.บ. ?
        ตอบ กรณีนี้ต้องดูว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจชี้ฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิด เพราะกรณีเช่นนี้ส่วนใหญ่จะยึดคันที่ชนเป็นเหตุ ซึ่งก็คือมอเตอร์ไซต์ ส่วนคันที่วิ่งมาตามทางคือรถเก๋ง เรากระเด็นไปโดนก็เป็นผู้ถูกละเมิดเหมือนเรา เพราะรถเก๋งเขาไม่ผิดถ้าวิ่งมาตามทางก็ไม่ใช่ผู้ประมาทฉะนั้นไปเรียกกับรถเก๋งไม่ได้ครับ

        3. เรียกร้องสิทธิอะไรได้บ้าง ?
        ตอบ ค่าสินไหมทดแทนที่ญาติของผู้เสียชีวิตสามารถเรียกจากคู่กรณีได้ แบ่งออกเป็น 4 กรณีดังนี้

        1. ค่าปลงศพ
        2. ค่ารักษาพยาบาลก่อนเสียชีวิต
        3. ค่าขาดประโยชน์ในการทำมาหากินได้ เพราะไม่สามารถประกอบการงานได้
        4. ค่าขาดไร้อุปการะ (กรณีผู้ตายมีครอบครัว)
  18. กิตติยาจันทร์นวล says:

    กรณีชนรถคู่กรณีเสียชีวิตล่ะคะจะได้รับความช่วยเหลืออะไรบ้าง

  19. กนกวรรณ says:

    สอบถามค่ะ
    พรบ.ไหนที่จะไปเรียกร้องให้ประกันเร่งซ่อมรถให้ได้ค่ะ รออะไหล่ประกันส่งมาให้ซ่อมมาเป็นเดือนแล้วค่ะ

  20. วันเฉิลม says:

    ในกรณีผู้ประสบอุบัติเหตุขับรถปาดห้นาบาดเจ็บกระดูกร้าวจ่ายค่าเสืยหายยังไง

  21. กาญจนา says:

    สวัสดีค่ะ
    แม่เป็นผู้เสียหายค่ะ ตอนเกิดเหตุ ได้ใช้สิทธิพรบ.ตอนเข้ารพ.แล้ว (ตามสิทธิเจ้าหน้าที่บริษัทประกัน ได้แจ้งว่าทางโรงพยาบาลได้ใช้สิทธิเต็มจำนวน 80,000 บาทแล้ว ไม่ทราบว่า มีสิทธิได้รับชดเชยด้านอื่น เช่น ค่าขาดรายได้จากการทำงานอีกไหมค่ะ แม่ได้รับใบรับรองแพทย์ให้พัก หกเดือน เพราะขาหัก ผ่าตัดใส่เหล็ก และเดินไม่ได้ หกเดือนค่ะ
    ขอบคุณค่ะ

    • ธงชัย says:

      เบิกเงินชดเชยตอนนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลได้อีกวัน ละ 200 บาท สูงสุดไม่เกิน 20 วัน ครับ

  22. Grace says:

    เราออกมาจากทางซอย​ ตรงนั้นเป็นทางร่วมทางแยก​ออก​จนจะสุดเขตเส้นกลางถนนแล้วแต่ถูกมอเตอร์​ไซค์​ชนและมอเตอร์​ไซค์​ได้รับบาดเจ็บแล้วจะได้รับความคุ้มครองอย่างไรบ้างค่ะ

  23. นิตยา ไสลรัตน์ says:

    กรณีประสบอุบัติเหตุ รถชนเสาไฟฟ้าทางหลวง ผู้ขับได้รับบาด ต่อมาเสียชีวิตที่โรงพยาบาล จะได้รับความคุ้มครองอย่างไรบ้าง

  24. สงสัย says:

    ขอสอบถามหน่อยคะกรณีขับรถยนต์มาทางตรงแล้วมีมอไซต์ตัดหน้าแต่มอไซต์ขับออกมาจากข้างทางซึ่งเป็นทางที่ชาวบ้านทำกันขึ้นมาเองเพื่อข้ามมายังถนนอีกฝั่งนึงแต่มอไซต์ขับตัดหน้ารถเราจึงทำให้รถเราชนมอไซต์ทำให้คนขับมอไซต์เสียชีวิตตำรวจลงในสำนวนเป็นประมาทร่วมกันแบบนี้พ.ร.บจ่ายยังไงคะ

  25. แพท says:

    ถ้ามีทั้ง พ.ร.บ.ทั้งประกันเสริม เมื่อเกิดเหตุร้ายแรงแก่ชีวิตและทรัพย์สิน จะได้สินไหมจากทั้ง2 ประเภทหรือเปล่าคะ. หรือมีเงื่อนไขยังไง
    ขอบคุณค่ะ

  26. ศิริขวัญ says:

    ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ รถลงข้างทาง ฟันล่างหัก 2 ซี่ ยื่นเอกสาร พรบ รถยนต์ครบแล้ว ถ้าเวลาที่หมอนัดไปทำฟัน เราต้องจ่ายเงินเองไหมค่ะ หรือ พรบ จะเป็นคนจ่ายให้หมดค่ะ

  27. เกรียติวุฒิ says:

    กรณีรถจักรยานยนต์พลิกคว่ำ
    ผู้ประสบเหตุมีประกันสังคม
    แล้วใด้ทำพรบใว้และก็เป็นเจ้าของรถด้วย
    ตอนนี้นอนพักรักษาตัวอยู่ที่บ้าน!
    ขาดรายใด้จากการทำงานบริษัท
    ควรทำอย่างใรครับ?

  28. มัลลิกา ศรีวิชัย says:

    ถ้าหูพิการที่เกิดจากอุบัติเหตุ เนื่องจากถูกรถจักรยานยนต์ชน จะได้รับค่าเสียหายไหมค่ะ และค่ารักษาพยาบาลได้รับไหมคะ

    • easyinsure says:

      เรียน : คุณมัลลิกา ศรีวิชัย
      กรณีผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายต่อร่างกาย (ทุพพลภาพ) อย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้บริษัทจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น จำนวน 35,000 บาท ต่อหนึ่งคนครับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *