รู้ทันแอลกอฮอล์ ดื่มแค่ไหนไม่ควรขับ

รู้ทันแอลกอฮอล์ ดื่มแค่ไหนไม่ควรขับ ฉบับแสนง่าย สไตล์ อีซี่

กฎหมายเกี่ยวกับการเมาแล้วขับ ระบุไว้ชัดเจนในพระราชบัญญัติจราจรทางบอกอย่างเอาไว้ว่า  ถ้าผู้ขับขี่รถมีระดับแอลกอฮอลล์ในกระแสเลือดเกินกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ว่าเมา โดยไม่ได้วัดจากอาการหรือ ความทรหด ต่อการดื่มแต่อย่างใด ถ้าหาข้อมูลเพิ่มเติมต่อจะทราบว่าระดับแอลกอฮอลล์ 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ อาจจะเทียบได้กับการดื่มเบียร์ 2 กระป๋องหรือ 1 ขวดเท่านั้น ทั้งยังขึ้นอยู่กับขนาดและน้ำหนักตัวของผู้ดื่มร่วมด้วย ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลที่มีหน่วยงานทางการแพทย์ได้ประชาสัมพันธ์ไว้แล้ว การดื่มเบียร์เพียง 2 กระป๋อง สำหรับการสังสรรค์แล้วถือว่าเป็นปริมาณการดื่มที่น้อยมาก หนำซ้ำการสังสรรค์ของนักดื่มไม่ได้ใช้เวลาเพียงแค่ดื่มเบียร์เพียง 2 กระป๋องแล้วจะแยกย้ายกันกลับ เพราะฉะนั้นการดื่มเพียงเท่านั้นเป็นการดื่มที่ไม่เกิดประโยชน์ทางความรู้สึกใดๆ ทั้งสิ้น

รู้ทันแอลกอฮอล์  ดื่มแค่ไหนไม่ควรขับ

รู้ทันแอลกอฮอล์ ดื่มแค่ไหนไม่ควรขับ

 

ปัญหาการเมาแล้วขับเป็นปัญหาอันดับหนึ่งที่อยู่คู่กับสถิติการเกิดอุบัติเหตุในบ้านเราเสมอมา จุดเริ่มต้นเริ่มจากคำว่า “ไม่เป็นไร แค่นี้ไม่เมา” หรือ “เมาแค่นี้ยังไหว สบายมาก” แม้ว่าผู้ขับขี่ที่ดื่มของมึนเมาจะรู้สึกว่าควบคุมตนเองได้ แต่ในการขับขี่ยานพาหนะเพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุจะต้องใช้สติและการระมัดระวังผู้ร่วมใช้ถนนคนอื่นๆ สามารถสังเกตได้ว่าการขับรถทางไกลหรือเป็นระยะเวลานานๆ จะสร้างความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าอย่างมาก ดังนั้นการเริ่มต้นขับขี่ด้วยการมีแอลกอฮอลล์ในกระแสเลือดแม้เพียงน้อยก็ยิ่งจะทำให้อาการเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเป็นแน่

ผลของการเมาแล้วขับไม่ได้เกิดแค่เพียงผู้ขับขี่จะถูกคุมขังหรือปรับเงินเป็นจำนวนมาก แต่ยังส่งผลถึงผู้ที่เป็นฝ่ายเสียหาย ไม่ว่าจะถึงระดับเสียชีวิต บาดเจ็บสาหัส หรือพิการทุพพลภาพ และความเป็นจริงคือไม่มีผู้ใดอยากให้เกิดเรื่องร้ายแรงเช่นนั้นขึ้นกับตนเองเหมือนกัน

บทความนี้จึงสนับสนุนให้ผู้ที่ดื่มของมึนเมาไม่ว่าจะด้วยความตั้งใจหรือ ตกกระไดพลอยโจนจะต้องดื่ม ไม่ขับขี่ยานพาหนะทุกชนิด โดยปัจจุบันทางเลือกในการกลับที่พักหลังจากการดื่มมีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน เช่น การเรียกรถแท็กซี่สาธารณะ ไม่ว่าจะโดยใช้แอพพลิเคชั่นต่างๆ ในมือถือ

ในอนาคตกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ขับขี่ที่มีอาการมึนเมาจะยิ่งหนักมากขึ้นเรื่อยๆ หน่วยงานราชการหรือเอกชนเองก็ให้การสนับสนุนตัวบทกฎหมายเหล่านี้ให้มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เห็นได้จากวิธีการทำงานของตำรวจเพื่อสกัดผู้ขับขี่ที่มึนเมา ซึ่งการปฏิเสธการตรวจวัดจากเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ถือเป็นความผิดเช่นกัน ดังนั้นดื่มแม้เพียงนิดก็เป็นต้นเหตุความเสียหายที่จะตามมาจากการเมาแล้วขับได้ พึงตระหนักไว้เสมอว่า ไม่มีใครอยากเสียคนที่รักไปด้วยสาเหตุ ที่สามารถป้องกันได้ทั้งนั้น

ขอบคุณรูปภาพจาก BoxzaRacing

Loading

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *