ต่อภาษีออนไลน์

ต่อภาษีออนไลน์ | ทำอย่างไร ไม่ยากอย่างที่คิด สะดวก รวดเร็ว ฉบับ 2560

ต่อภาษีออนไลน์

วิธีการต่อภาษีรถยนต์ในอดีตที่ผ่านมา เจ้าของรถจะต้องเตรียมเอกสารสมุดรายการจดทะเบียนรถ และหลักฐานการต่อประกันภาคบังคับ (พ.ร.บ.) เพื่อไปดำเนินการต่อภาษีที่กรมการขนส่งทางบกที่ใกล้บ้านหรือสะดวกที่สุด ต่อมาได้มีการเพิ่มสถานที่ในการต่อภาษีรถยนต์ได้แก่ ธนาคารหรือห้างสรรพสินค้าที่ใกล้บ้าน แต่ก็ยังต้องมีการเตรียมเอกสารให้พร้อมก่อนจะไปดำเนินเรื่อง แต่ในปัจจุบันนี้ (พ.ศ.2560) ทางกรมการขนส่งทางบกได้เพิ่มช่องทางการต่อภาษีรถยนต์โดยผ่านทางอินเตอร์เน็ต หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่าการ ต่อภาษีออนไลน์ ซึ่งมีวิธีและขั้นตอนดังนี้

  • เข้าเวปไซต์ dlt.go.th
  • ลงทะเบียนเพื่อขอรหัสผ่าน
  • กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับตัวรถ และบันทึก หลังจากนั้นจะมีหัวข้อชำระภาษีรถยนต์ให้คลิ๊กเข้าไป แล้วระบบจะแจ้งเงื่อนไขในการต่อภาษีรถยนต์ คือ จะต้องมีการทำต่อประกัน พ.ร.บ. ให้เสร็จสิ้นเสียก่อน ซึ่งถ้ายังไม่ได้ต่อก็สามารถเลือกซื้อ พ.ร.บ. จากในเวปไซต์ได้เลย แต่มีข้อเตือนที่สำคัญมากอยู่คือ เจ้าของรถจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ต่อประกัน พ.ร.บ. เรียบร้อยแล้วจึงมาต่อภาษีรถยนต์ มิฉะนั้นถ้าระบบตรวจสอบว่าไม่ได้เป็นไปตามนั้น จะต้องถูกปรับในภายหลัง
  • ในการชำระค่าภาษีรถยนต์ ผู้มีความประสงค์ต่อภาษีรถยนต์ทางออนไลน์สามารถเลือกชำระเงินได้ 3 ช่องทางได้แก่ ระบบหักบัญชีเงินฝาก หักจากบัตรเครดิต และพิมพ์เอกสารไปจ่ายเงินที่เคาน์เตอร์เซอร์วิสหรือหน่วยงานที่รับชำระ (มีระบุในเอกสารการชำระ) ซึ่งจำนวนค่าภาษีรถยนต์จะมีระบุไว้อยู่ในขั้นตอนการต่อภาษีอยู่แล้ว
  • หลังจากชำระเสร็จเรียบร้อยแล้วควรเก็บใบเสร็จ หรือพิมพ์ใบแสดงผลการชำระเก็บไว้เป็นหลักฐานด้วย
  • เอกสารที่เป็นเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี และกรมธรรม์ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ถ้ามี) กรมการขนส่งทางบกจะส่งให้ทางไปรษณีย์ตามที่อยู่ที่ผู้ประสงค์ได้ระบุไว้ในบัญชีออนไลน์
  • ท่านเจ้าของรถสามารถนำใบคู่มือจดทะเบียนรถไปบันทึกว่าได้ต่อภาษีรถยนต์แล้ว ณ หน่วยงานทะเบียนกรมการขนส่งทางบก ทั่วประเทศ

ข้อยกเว้นสำหรับการต่อภาษีแบบออนไลน์ และค่าการจัดการที่ต้องชำระเพิ่ม

  • กรณีที่ต้องใช้ใบตรวจสภาพรถยนต์จากกรมการขนส่งทางบก หรือสถานตรวจรถเอกชน ไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ได้
  • ใช้ได้เฉพาะรถเก๋ง รถตู้ รถกระบะ และรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลเท่านั้น
  • จ่ายล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน และต้องไม่เป็นรถที่มีการค้างชำระภาษีเกิน 1 ปี (เพราะถ้าเกิน 1 ปีจะต้องมีการตรวจสภาพก่อนจะทำเรื่องต่อภาษีรถยนต์)
  • ค่าบริการในกรณีต่อภาษีออนไลน์จะมีค่าจัดส่งเอกสารรายการละ 40 บาท กรณีหักจากธนาคารและการใช้บัตรเครดิตในการชำระก็จะมีค่าธรรมเนียมด้วยเช่นกัน

จากข้อมูลดังกล่าวเบื้องต้นจะเห็นว่าการ ต่อภาษีออนไลน์ เป็นช่องทางหนึ่งที่อำนวยความสะดวกให้กับเจ้าของรถ ซึ่งจะช่วยลดทั้งเวลาในการเดินทางและการรอคิวเพื่อดำเนินการ แต่ทั้งนี้เนื่องจากในทุกกระบวนการออนไลน์จะต้องตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องเสียก่อนจะคลิ้กคำสั่งดำเนินการมิเช่นนั้นการย้อนกลับมาแก้ไขอาจจะเป็นเรื่องยุ่งยากเช่นกัน

Loading

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *