โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก แสดงอาการอะไรบ้าง เกิดจากอะไรและรักษาหายไหม

โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ( Prostate Cancer ) ต่อมลูกหมากคืออวัยวะหนึ่งในระบบสืบพันธุ์ของเพศชายลักษณะคล้ายลูกเกาลัดเล็ก ๆ  ทำหน้าที่ผลิตน้ำสำหรับหล่อเลี้ยงและลำเลียงอสุจิ เป็นโรคที่เกิดขึ้นตามวัย เป็นมะเร็งชนิดที่พบได้มากในเพศชาย ที่พบบ่อยเป็นอันดับต้น ๆ ในผู้ชาย และยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยลักษณะของโรคที่มีการเติบโตอย่างช้า ๆ และไม่มีอาการบ่งชี้ที่ชัดเจน โดยจะเติบโตขึ้นอย่างช้า ๆ บริเวณต่อมลูกหมาก กว่าจะตรวจพบก็เป็นมากหรือลุกลามไปสู่อวัยวะสำคัญอื่น ๆ ของร่างกาย

ลักษณะของต่อมลูกหมาก ประกอบด้วยลำไส้ใหญ่ส่วนล่าง Rectum และใต้ท่อกระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมากจะหุ้มรอบท่อปัสสาวะส่วนต้น ทำให้ปัสสาวะไหลผ่านกลางต่อมลูกหมาก ในผู้ชายแข็งแรงทั่วไปลักษณะรูปร่างของต่อมลูกหมากคล้ายลูกเกาลัดต่อมลูกหมากยังมีหน้าที่สร้างสารน้ำเลี้ยงตัวอสุจิ และเป็นส่วนประกอบของน้ำเลี้ยงอสุจิที่ช่วยให้ตัวอสุจิมีการเคลื่อนที่ออกมาระหว่างมีการหลั่งในฮอร์โมนเพศชาย เป็นสารที่ทำให้ต่อมลูกหมากมีขนาดโตขึ้น ซึ่งฮอร์โมนเพศชายนี้ส่วนใหญ่สร้างมาจากอัณฑะและบางส่วนสร้างมากจากต่อมหมวกไต ในต่อมลูกหมากจะโตสัมพันธ์กับอายุของเพศชาย ซึ่งพบได้ว่าในชายสูงอายุจะมาด้วยเรื่องปัสสาวะลำบาก เกิดจากต่อมลูกหมากโตเบียดท่อทางเดินปัสสาวะให้แคบลง

 

โรคมะเร็งต่อมลูกหมากเกิดจากอะไร

เกิดจากเซลล์หรือเนื้อเยื่อภายในต่อมลูกหมากที่ไม่สามารถควบคุมได้ คำว่า มะเร็ง หมายถึงสภาวะที่เกิดการสูญเสียแบบแผนของการเจริญเติบโต จนไม่สามารถควบคุมการแบ่งตัวของเซลล์ในต่อมลูกหมากได้ ตลอดจนมะเร็งสามารถแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่นของร่างกาย

ปัจจุบันยังไม่มีใครรู้ว่าโรคมะเร็งต่อมลูกหมากเกิดจากอะไร และไม่สามารถบอกได้ว่าบางคนเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากขณะอีกคนไม่เป็น โดยมีการศึกษาพบว่ามีองค์ประกอบบางอย่างที่มีผลต่อการเกิด โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

  • อายุ : เราจะพบโรคนี้ในคนสูงอายุ มากกว่า 65 ปี และ พบได้น้อยในอายุต่ำกว่า 45 ปี
  • เชื้อชาติ : โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก พบมากในคนแอฟริกามากกว่าคนผิวขาว พบได้น้อยในคนเอเชีย
  • เซลล์ : มีเซลล์ที่เปลี่ยนแปลงในต่อมลูกหมาก พบว่าในจำนวนมาก High-grade prostatic intraepithelial neoplasia PIN จะพบว่าอาจทำให้พบมะเร็งต่อมลูกหมากสูงขึ้น
  • อาหาร : มีการรายงานว่าการกินอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ ไขมันสัตว์มาก มีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากมากกว่าพวกกินอาหารจำพวกพืชผัก
  • ประวัติครอบครัว : ถ้ามีคนในครอบครัวเพศชายเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก จะทำให้มีโอกาสเป็น โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มากขึ้น

 

อาการของโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

อาการที่เกิดจากมะเร็งต่อมลูกหมากคือ ปัสสาวะไม่พุ่งหรือปัสสาวะบ่อย บางคนอาจไม่แสดงอาการใดเลยในระยะแรก แต่โรคบางโรคหรือบางสภาวะก็อาจทำให้มีอาการเหมือนกันได้ เมื่อมะเร็งเข้าสู่ระยะลุกลามจะมีอาการได้หลายแบบ และหากพบว่ามีอาการเหล่านี้ต้องปรึกษาแพทย์ทันทีคือ

ปัสสาวะไม่ออก ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะไม่พุ่งหรือปัสสาวะหยุดเป็นช่วง ๆ โดยเฉพาะปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืนหลังเข้านอนแล้ว ปัสสาวะแสบหรือขัด ปัสสาวะหรือน้ำอสุจิเป็นเลือด มีอาการปวดหลัง หรือปวดสะโพกตลอดเวลา มีอาการปวดมากเวลาหลั่งน้ำอสุจิ โดยอาการส่วนใหญ่เหล่านี้ไม่ได้มาจาก โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก และ อาจมีสาเหตุเกิดจากต่อมลูกหมากโต การติดเชื้อ ถ้าคุณมีอาการเหล่านี้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงเพื่อการรักษาอย่างเหมาะสมและทันท่วงที

 

การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

  1. ทำการซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียด โดยแพทย์เฉพาะทางระบบทางเดินปัสสาวะ Physical Examination by urologist ด้วยการตรวจต่อมลูกหมากทางทวารหนัก Digital Rectal Exam.
  2. การตรวจเลือด เพื่อตรวจสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก PSA
  3. การตรวจปัสสาวะ เพื่อหาว่ามีเลือดหรือการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ Urine Analysis
  4. การส่องกล้องดูภายในกระเพาะปัสสาวะและต่อมลูกหมาก Cystoscopy
  5. การตรวจอัลตราซาวด์ต่อมลูกหมากทางทวารหนัก Transrectal Ultrasonography สามารถเห็นต่อมลูกหมากและกระเพาะปัสสาวะและตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก Prostate Biopsy

 

โรคมะเร็งต่อมลูกหมากแบ่งได้กี่ระยะ

โรคมะเร็งต่อมลูกหมากสามารถแบ่งออกเป็น 4 ระยะดังนี้

ระยะแรกของโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

  • ระยะที่ 1 – 2 คือ ระยะแรกเริ่มของโรค เซลล์มะเร็งมีขนาดเล็ก ไม่รุนแรงเมื่อส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือในบางรายเซลล์มะเร็งมีขนาดใหญ่และเจริญเติบโตทั้ง 2 ข้างของต่อมลูกหมาก

ระยะแพร่กระจายของโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

  • ระยะที่ 3 เป็นมะเร็งลุกลามออกจากบริเวณต่อมลูกหมากไปยังระบบสืบพันธุ์หรือเนื้อเยื่ออื่น ๆ รอบข้าง

ระยะสุดท้ายของโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

  • ระยะที่ 4 เซลล์มะเร็งเติบโตจนรุกล้ำเข้าไปยังอวัยวะที่อยู่ใกล้อย่างกระเพาะปัสสาวะ แพร่กระจายไปสู่ต่อมน้ำเหลือง ปอด กระดูก หรืออวัยวะอื่น ๆ

 

การป้องกันโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

  1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์โดยเน้นผักและผลไม้ ธัญพืชต่าง ๆ ที่อุดมไปด้วยวิตามินและสารอาหารมากมายที่ดีต่อสุขภาพ
  2. ควบคุมน้ำหนัก การมีน้ำหนักตามมาตรฐานอย่างเหมาะสมสามารถช่วยให้สุขภาพที่แข็งแรงและปลอดภัยจากโรคได้ และควบคุมปริมาณแคลอรี่ที่ได้รับในแต่ละวัน
  3. หมั่นออกกำลังกายให้บ่อยครั้ง การออกกำลังกายส่งผลต่อสุขภาพที่แข็งแรงทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทั้งยังช่วยควบคุมน้ำหนัก การออกกำลังกายมีค่า PSA สูงกว่าผู้ที่ออกกำลังกายที่จะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากน้อยกว่า
  4. พูดคุยปรึกษากับแพทย์ ถึงภาวะเสี่ยงต่อโรคมะเร็งต่อมลูกหมากของตนเอง

 

การรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

การรักษาขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ความเร็วในการเจริญเติบโตของมะเร็ง การแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย และผลข้างเคียงของการรักษา ซึ่งจะรักษาหายขาดหรือทำได้เพียงประคองอาการขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค

การฉายรังสีบำบัด

ในการรักษาด้วยการใช้รังสีพลังงานสูงฆ่าเซลล์มะเร็ง ทำได้ 2 ทางคือ การฉายรังสีจากภายนอกร่างกาย ด้วยรังสีเอกซเรย์หรือรังสีโปรตอน จะทำสัปดาห์ละ 5 วันเป็นเวลา 4-8 สัปดาห์ และการฉายรังสีจากภายในร่างกาย โดยนำเมล็ดรังสีขนาดเท่าเมล็ดข้าวใส่ลงในเนื้อเยื่อต่อมลูกหมาย โดยจะเปล่งรังสีออกมาเป็นเวลานานจนรังสีหมด และไม่จำเป็นต้องนำออกจากร่างกายวิธีนี้เหมาะสำหรับการรักษามะเร็งที่เกิดเฉพาะแห่ง และเติบโตขึ้นในต่อมลูกหมาก และยังช่วยลดการลุกลามของมะเร็ง และบรรเทาอาการการรักษาด้วยวิธีนี้มีโอกาส 1 ใน 3 ที่ผู้ป่วยจะกลับไปเผชิญกับมะเร็งต่อมลูกหมากอีกครั้ง โดยแพทย์จะเลือกใช้การใช้ยาในการควบคุมมะเร็ง แต่จะไม่ใช้การผ่าตัด และหากการทำรังสีบำบัดล้มเหลวก็อาจเลือกใช้การรักษาด้วยการอัตราซาวด์ความถี่สูง และการรักษาด้วยความเย็นจัด

การทำฮอร์โมนบำบัด

คือการรักษาเพื่อยับยั้งการผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอร์โรนของร่างกาย เป็นฮอร์โมนที่ทำให้มะเร็งต่อมลูกหมากเติบโตขึ้น การรักษาด้วยการยับยั้งฮอร์โมนนี้เป็นการลดการพัฒนาของเซลล์มะเร็ง หรือทำให้เซลล์ตาย ซึ่งการลดระดับฮอร์โมนในร่างกายทำได้โดยใช้ยายับยั้งการผลิตเทสโทสเตอร์โรน ยาต้านการเข้าสู่เซลล์มะเร็งของเทสโทสเตอร์โรน หรือการผ่าตัดเอาลูกอัณฑะออก การรักษาวิธีนี้มักใช้กับผู้ป่วย โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ที่มะเร็งมีการพัฒนาแล้ว ช่วยให้เซลล์มะเร็งหดตัวเล็กลงและเติบโตช้าลง ผู้ป่วยระยะแรกอาจใช้วิธีนี้หดเซลล์มะเร็งให้เล็กลง ก่อนจะบำบัดด้วยรังสีต่อไป ช่วยให้ได้ผลยิ่งขึ้นฮอร์โมนบำบัดอาจใช้หลังจากทำรังสีบำบัดเพื่อลดการเกิดเซลล์มะเร็ง

การผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมาก

การผ่าตัดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นตัวเลือกในการรักษามะเร็งที่จะแพร่กระจายออกไปนอกต่อมลูกหมาก วิธีหลักคือ การผ่าเอาต่อมลูกหมากทั้งหมดออกไป รวมถึงเนื้อเยื่อรอบ ๆ และต่อมน้ำเหลืองบางส่วน

การรักษามะเร็งต่อมลูกหมากด้วยความเย็นจัด

การรักษาด้วยความเย็นจัดช่วยฆ่าเซลล์มะเร็งด้วยการใช้เข็มเล็ก  ๆ สอดเข้าไปในต่อมลูกหมากทางผนังทวารหนัก ภายในเข็มบรรจุแก๊สเย็นจัดที่จะช่วยให้เนื้อเยื่อบริเวณรอบต่อมลูกหมากแข็งตัว จากนั้นจะใช้เข็มบรรจุแก๊สร้อนเพื่อให้เนื้อเยื่ออุ่นลง กระบวนการนี้ช่วยให้เซลล์มะเร็งและเนื้อเยื่อบริเวณรอบตายลงได้

การทำเคมีบำบัด

คือการใช้ยาฆ่าเซลล์มะเร็งที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว การให้ยาอาจเข้าเส้นเลือดดำที่แขนหรือรับประทานยาก็ได้โดยมักใช้กับมะเร็งต่อมลูกหมากที่แพร่กระจายไปยังบริเวณอื่นของร่างกาย และไม่ตอบสนองต่อการรักษาวิธีฮอร์โมนบำบัด การทำเคมีบำบัดอาจไม่ช่วยรักษาให้หายได้ แต่จะควบคุมการเกิดมะเร็งและอาการของมะเร็ง

การทำชีวบำบัด

เป็นการรักษาด้วยการใช้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเพื่อต่อสู้กับเซลล์มะเร็ง โดยจะนำเอาเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยไปทำพันธุวิศวะกรรมในห้องปฏิบัติการให้สามารถต่อสู่กับเซลล์มะเร็ง และค่อยฉีดกลับเข้าสู่ร่างกายผ่านเส้นเลือดดำ (แต่ในประเทศไทยยังไม่มีการนำวีนี้มาใช้)

คำแนะนำเพิ่มเติมจากสมาชิก Pantip

หัวข้อ : มะเร็งต่อมลูกหมาก

"<yoastmark

หัวข้อ : มะเร็งต่อมลูกหมากระยะลุกลาม รักษาแบบนี้ปกติมั้ยคะ

"<yoastmark

หัวข้อ : เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้าย

"<yoastmark

 

อย่าปล่อยให้โรคร้ายมาทำลายชีวิตที่มีความสุขได้ แค่หมั่นสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตนเองเป็นประจำ รวมถึงตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ แต่หากใครก็ตามเป็นโรคร้ายนี้แล้ว ก็ทำการรักษาด้วยวิธีการแพทย์ตามโรงพยาบาลทั่วประเทศไทย ซึ่งการรักษาให้ประสบความสำเร็จต้องอาศัยผู้ป่วยที่มีกำลังใจที่เข้มแข็ง ความพร้อมของผู้ป่วย รวมถึง ค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคร้ายนี้ ซึ่งถ้าหากมีความพร้อมก็จะทำให้การรักษาเป็นไปอย่างราบรื่น

และสำหรับผู้ป่วยที่ไม่มีความพร้อมเรื่องการเงินค่าใช้จ่ายในการรักษา การทำประกันสุขภาพเป็นทางเลือกที่ดีและเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยในการรักษา โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ได้อย่างต่อเนื่อง เพราะค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคมะเร็งเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงพอสมควร หากใครไม่ได้เตรียมเงินสำรองไว้ การทำประกันสุขภาพจะช่วยได้เสมอ ที่อีซี่อินชัวร์โบรกเกอร์ ประกันภัย มีประกันสุขภาพ พร้อมให้ท่านได้เลือกทำตามความคุ้มครองที่ท่านต้องการมากมาย โดยเรามีเจ้าหน้าที่บริการด้านประกันภัยคอยให้คำแนะนำในการทำประกันสุขภาพให้ท่านได้รับความคุ้มครองสูงสุด ในราคาที่ไม่แพงอย่างที่คิด หากท่านสนใจสามารถเข้าไปดูรายละเอียดเบื้องต้นได้ที่ www.easyinsure.co.th ตลอด 24 ชั่วโมง

 

ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิง : โรงพยาบาลบำรุงราษฏร์ , โรงพยาบาลศิริราช , โรงพยาบาลนนทเวช

Loading

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *