โรคไต

โรคไต สาเหตุเกิดจากอะไร กินอาหารให้ถูกหลักเท่านี้ก็ปลอดภัย

โรคไต เป็นปัญหาหนึ่งที่มีจำนวนคนไทยเป็นโรคไตกันอย่างเพิ่มขึ้น โดยพบว่ามีการเกิดโรคไตเรื้อรังเป็นจำนวนหลักล้านคน นับว่ามีจำนวนผู้ป่วยโรคไตที่มากขึ้น ดังนั้นการดูแลสุขภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญและหากไม่อยากเป็นโรคไต เรามาเรียนรู้เกี่ยวกับโรคไต สาเหตุ อาการ วิธีการรักษามาฝากกัน

โรคไต

แต่ก่อนอื่นมารู้จักกับ ไต และหน้าที่ของไตกันก่อนโดยลักษณะของไตจะมี 2 ข้าง อยู่ด้านหลังใต้ชายโครง บริเวณบั้นเอว มีรูปร่างคล้ายถั่วเหลือง มีความยาวประมาณ 12 เซนติเมตร ไตประกอบไปด้วยหลอดเลือดฝอยมากมายที่เราเรียกว่า หน่วยไต หน่วยไตจะลดจำนวนและเสื่อมสภาพตามอายุไข

โรคไตคืออะไร

เป็นโรคที่ความสามารถของไตในการทำงานเสื่อมสภาพลดลง ทำให้การรักษาสมดุลของเหลวต่าง ๆ ในเลือด การกำจัดของเสียออกจากเลือดทำงานผิดปกติไป โรคไตเรื้อรังเกิดได้จากหลายสาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไตอักเสบ โรคถุงน้ำในไต โรคอ้วน

โรคไต เป็นชื่อที่เรียกรวมอาการ หรือความผิดปกติที่เรียกว่า พยาธิสภาพ ที่เกิดขึ้นบริเวณไตที่ทำให้การทำงานเพื่อขับของเสียออกจากร่างกาย และการรักษาความสมดุลของเกลือ รวมถึงน้ำในร่างกายมนุษย์ที่เกิดภาวะขัดข้อง โรคที่เกิดขึ้นกับไตมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท ได้แก่

  1. โรคไตวายเฉียบพลัน มักมีอาการมากกว่าแบบเรื้อรัง อัตราการเสียชีวิตสูง ไตมักจะเป็นปกติได้
  2. โรคไตวายเรื้อรัง เนื้อไตถูกทำลายอย่างถาวร ไตจะค่อย ๆ ฝ่อเล็กลง แม้อาการจะสงบนิ่ง แต่ไตจะค่อย ๆ เสื่อม และเข้าสู่ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในที่สุด
  3. โรคไตอักเสบเนโฟรติก
  4. โรคไตอักเสบจากภาวะภูมิคุ้มกันสับสน
  5. โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
  6. โรคถุงน้ำที่ไต

ไตทำหน้าที่อะไร

  1. กำจัดของเสีย : เมื่อร่างกายได้รับสารอาหาร จะย่อยสลาย แล้วนำส่วนที่เป็นประโยชน์ไปใช้ และปล่อยของเสียออกสู่กระแสเลือด ผ่านมายังไต และถูกขับออกมากับปัสสาวะ
  2. รักษาสมดุลน้ำของร่างกาย : ถ้าน้ำมีมากเกิน ไตจะทำหน้าที่ขับน้ำออกมาทางปัสสาวะ แต่ถ้าในภาวะขาดน้ำ ไตจะพยายามสงวนน้ำไว้ให้ร่างกาย ปัสสาวะจะมีปริมาณน้อยและเข้มข้น
  3. ควบคุมความดันโลหิต : เกิดจากความผิดปกติในการควบคุมสมดุลน้ำ และเกลือ รวมถึงสารบางอย่าง ผู้ป่วยโรคไตจึงมักมีความดันโลหิตสูง เพราะไตถูกกระตุ้นให้สร้างสารที่ทำให้ความดันสูง ถ้าความดันโลหิตสูง ทำให้หัวใจทำงานหนัก หรืออาจเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบ หรือ แตก ได้
  4. ดูดซึมและเก็บสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย : สารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย จะถูกดูดกลับโดยเซลล์ของหน่วยไต เช่น น้ำ หรือ ฟอสเฟต
  5. รักษาสมดุลกรดด่างของร่างกาย : ร่างกายจะผลิตกรดทุกวัน จากการเผาผลาญอาหารโปรตีน ถ้าไตทำหน้าที่ปกติ จะไม่มีกรดคั่ง แต่ถ้าไตเสื่อม ร่างกายจะมีปัสสาวะเป็นกรด
  6. สร้างฮอร์โมน : ไตปกติสามารถสร้างฮอร์โมนได้หลายชนิด แต่ถ้าเป็นโรคไต การสร้างฮอร์โมนจะบกพร่องไป

โรคไตมีกี่ระยะ

ค่าการทำงานของไตจะบ่งบอกให้แพทย์ทราบว่า ไตทำงานมากน้อยเพียงใด มีประโยชน์ในการวางแผนการรักษาเพื่อช่วยในการชะลอความเสื่อมของไต

  • ระยะที่หนึ่ง : ไตเริ่มเสื่อม แต่ยังทำงานปกติ ค่าการทำงานของไต 90 มิลลิลิตรต่อนาที
  • ระยะที่ 2 : ไตเสื่อมและการทำงานลดลง ค่าการทำงาน 60-89 มิลลิลิตรต่อนาที
  • ระยะที่ 3 : ไตเริ่มทำงานลดลง ค่าการทำงาน 30-59 มิลลิลิตรต่อนาที
  • ระยะที 4 : ไตทำงานลดลงอย่างมาก ค่าการทำงาน 15-29 มิลลิลิตรต่อนาที
  • ระยะที 5 : ไตวายเรื้อรัง ระยะสุดท้าย ค่าการทำงาน 15 มิลลิลิตรต่อนาที

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไต

  • อายุเกิน 60 ปีขึ้นไป ไตจะเริ่มเสื่อม
  • โรคหัวใจ เช่น หลอดเลือดหัวใจตีบ
  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • ความดันโลหิตสูง
  • โรคเบาหวาน
  • โรคเก๊าท์
  • โรคไตอักเสบชนิดต่าง ๆ เช่นโรคไตอักเสบ เอส-แอล-อี, โรคไตเป็นถุงน้ำ

สาเหตุของโรคไต

  • ภาวะท้องผูกระยะเวลายาวนาน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักประการหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะไตวาย
  • ปัสสาวะอักเสบ รวมถึงการอั้นปัสสาวะ โดยเฉพาะคนที่เดินทางบ่อยทำให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรังได้
  • ท่านที่รับประทานอาหารรสจัด เค็มจัด เปรี้ยวจัด หวานจัด และของหมักดอง แอลกอฮอล์ ขนมมีโซเดียมสูง
  • ดื่มน้ำน้อยต่ำกว่า 8 แก้ว มีความเสี่ยงสูงที่ไตจะวายได้
  • ผู้ที่มีโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ระยะยาวย่อมมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคไตได้
โรคไต
อาการปวดหลัง ปวดเอวของ โรคไต

อาการของโรคไต

  • ปัสสาวะผิดปกติ เช่น ปัสสาวะขุ่น เป็นฟอง เป็นเลือด
  • ถ่ายปัสสาวะผิดปกติ เช่น ปวดบ่อย แสบ ขัด ปริมาณน้อย
  • หนังตา ใบหน้า ขา เท้า และลำตัวจะเริ่มบวม
  • ปวดหลัง ปวดเอว คลำได้ก้อนบริเวณไต
  • ท้องอืด ท้องเฟ้อ คลื่นไส้ อาเจียน
  • ความดันโลหิตสูง
  • ซีด อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไม่มีแรง
  • ปวดศีรษะ นอนหลับไม่สนิท เบื่ออาหาร

สัญญาณเตือนบ่งชี้ว่าเป็นโรคไต

มีอาการบวมทั้งตัว ผู้ป่วยโรคไตมักมีอาการบวมตามตัว ซึ่งเกิดจากมีน้ำและเกลือเพิ่มขึ้นในร่างกาย โดยระยะแรกมีเพียงการบวมที่หนังตา และหน้า ซึ่งต่อมาจะมีการบวมที่ขาและเท้าทั้งสองข้าง โดยลองกดที่หน้าแข้งสักพักแล้วปล่อย หากพบว่ามีรอยบุ๋มอยู่แสดงว่าบวมแน่น ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายอย่างละเอียด เพราะอาการบวมอาจไม่ได้เป็นโรคไตก็ได้ แต่อาจเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ โรคตับ ดังนั้นการตรวจปัสสาวะน่าจะได้ผลที่ชัดเจนที่สุด

ปัสสาวะเป็นเลือด

ซึ่งอาจมีหลายโรคที่ทำให้เกิดอาการนี้ ทั้งนิ่ว เนื้องอกของทางเดินปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ อุบัติเหตุกับทางเดินปัสสาวะ เส้นฝอยของไตอักเสบ แม้แต่ โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ของระบบทางเดินปัสสาวะ หรือโรคไตเป็นถุงน้ำ

ปัสสาวะน้อยลง

กรณีใครก็ตามที่ปัสสาวะไม่ออกเลย อาจเป็นเพราะทางเดินปัสสาวะถูกอุดกั้น หรือ การทำงานของไตเสียไป

ปัสสาวะบ่อย

โดยความถี่ในการปัสสาวะของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับการดื่มน้ำ หรือการที่ร่างกายเสียน้ำไปทางอื่น เช่น ทางเหงื่อ อุจจาระ แต่หากรู้สึกว่าตัวเองปัสสาวะบ่อยผิดปกติ อาจต้องสงสัยว่าป่วยเป็นโรคไตก็ได้ เพราะกระเพาะปัสสาวะจะสามาระเก็บน้ำได้ถึง 250 ซีซี แต่ในคนที่เป็นโรคไต ไตจะไม่สามารถหยุดการขับน้ำในกระเพาะปัสสาวะ ทำให้มีน้ำออกมามากและปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ

ปัสสาวะเป็นฟองมาก

ลักษณะของฟองสีขาว ๆ ที่เราเห็นในปัสสาวะคือ โปรตีน มีกันทุกคนอยู่ แต่หากใครมีฟองสีขาว ๆ มากผิดปกติ อาจสงสัยได้ว่า เส้นเลือดฝอยในไตอาจอักเสบ ทำให้มีโปรตีนรั่วไหลออกมามากผิดปกติ แต่กระนั้นก็ต้องดูอาการอื่น ๆ ควบคู่ด้วย เช่น หากปัสสาวะมีฟองมากแถมมีเลือด ก็สันนิษฐานได้ว่าอาจเป็นโรคไต

ความดันโลหิตสูงมาก

การกินอาหารรสเค็มในปริมาณที่มาก จะทำให้ไตทำงานหนัก และเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูงด้วย

เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ซีด

ผู้ป่วยโรคไต มักไม่แสดงอาการถ้าเป็นไม่มาก แต่เมื่อเป็นมากขึ้น ผู้ป่วยจะรู้สึกเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย หากเป็นมาก ๆ ใกล้เป็นไตวายเรื้อรังจะเพิ่มอาการซีด คันตามตัว เบื่ออาหาร

ปวดหลัง ปวดบั้นเอว

ผู้ป่วยอาจเกิดอาการปวดหลัง บั้นเอวที่บริเวณชายโครง ร้าวไปถึงท้องน้อย หัวหน่าว บางคนถึงขั้นปวดกระดูก และข้อ อาจเป็นเพราะมีการอุดตันที่ท่อไต กรวยไตอักเสบ หรือในท่อไตมีถุงน้ำโป่งพอง โดยอาการปวดหลังก็สามารถวินิจฉัยได้หลายโรค ทั้งนี้หากเรากดหลังและทุบเบา ๆ แล้วมีอาการเจ็บ อาจแสดงว่าเป็นโรคไตเรื้อรัง หรือไตอักเสบ ถ้ามีไข้สูงร่วมด้วยอาจเป็นสัญญาณของกรวยไตอักเสบติดเชื้ออย่างเฉียบพลัน

การป้องกันโรคไต

  1. รับประทานอาหารที่มีคุณค่า ออกกำลังกายเป็นประจำ หลีกเลี่ยงกิจกรรมเสี่ยง เช่น การงดบุหรี่ หลีกเลี่ยงสุรา ดื่มน้ำสะอาดอย่างเพียงพอ
  2. จำกัดการรับประทานเกลือ หรืออาหารที่มีรสเค็ม เนื่องจากไตต้องรับภาระขับเกลือส่วนเกินออกทางปัสสาวะ และเกลือมีผลต่อความดันโลหิตสูงได้
  3. จำกัดอาหารไขมันจากสัตว์ ไข่แดง กะทิ และน้ำมันพืชที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง
  4. ดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว หรือ 2 ลิตรต่อวัน
  5. ตรวจวัดความดันอย่างสม่ำเสมอ
  6. ตรวจสุขภาพประจำปี
  7. ระวังอย่าให้เกิดท้องเสีย เพราะการท้องเสียท่านจะต้องได้รับน้ำทดแทนอย่างพอเพียง ถ้าท่านมีโรคไตเรื้อรังอยู่แล้ว การเกิดท้องเสียจนทำให้ร่างกายขาดน้ำอย่างรุนแรงและเกิดไตวายเฉียบพลันได้
  8. หลีกเลี่ยงการซื้อยากินเองเป็นประจำ เพราะการกินยาที่ไม่ทราบสรรพคุณที่แท้จริง แต่เชื่อตามคำโฆษณา เมื่อกินเข้าไปมาก ๆ ทำให้เกิดไตอักเสบ จนเป็นไตวายเรื้อรังได้
  9. การกินยาซ้ำซ้อน ยาประเภทโรคปวดข้อ ปวดเส้น ปวดกล้ามเนื้อ จะมียาเอ็นเสด ซึ่งเป็นยาลดอักเสบฤทธิ์แรงมาก กินแล้วอาการปวดมักจะทุเลาลง แต่หลังหมดฤทธิ์ยา ผู้ป่วยจะกลับมาปวดได้อีก เพราะยาเอ็นเสดกินมาก ๆ จะมีผลเสียอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ
  10. หลีกเลี่ยงยาเสพติด บุหรี่ สุรา มีผลทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นและทำให้ไตเสื่อมเร็ว

วิธีการรักษาโรคไต

แบ่งการรักษาออกเป็น 3 ระยะ คือในระยะเบื้องต้น หมายถึงเป็นในระยะแรก การรักษาจะเป็นการรักษาด้วยยา ไม่ใช่การรักษาให้เนื้อไตที่เสียไปแล้วกลับสภาพทำงานได้ ยาที่ให้กับผู้ป่วยนั้นเพื่อรักษาปัจจัยต่าง ๆ ที่จะทำให้ไตนั้นเสื่อมสภาพลง เช่นควบคุมความดันโลหิต ตรงนี้เป็นปัจจัยที่สำคัญมาก ถ้าผู้ป่วยมีความดันโลหิตสูง การควบคุมความดันให้อยู่ในระดับปกติ จะสามารถชะลอไม่ให้ไตเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว

การให้ยา

ต้องดูความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย การติดตามการรักษากับแพทย์และไม่ซื้อยารับประทานเอง อาหารที่ต้องหลีกเลี่ยงก็คือ อาหารเค็ม อาหารโปรตีนมาก ๆ ก็จะช่วยทำให้ของเสียในเลือดเพิ่มขึ้นเร็ว แต่ปัจจุบันมีการรักษาหลายชนิด ที่นิยมคือการล้างไต

การล้างไต

ช่วยขจัดของเสียในเลือดออก โดยใช้น้ำยาใส่ลงไปในช่องท้อง ซึ่งหลักการคือ จะใส่น้ำยาล้างไตลงไปในช่องท้อง และของเสียที่อยู่ในกระแสเลือดจะซึมผ่านผนังหลอดเลือดฝอย บริเวณเยื่อบุช่องท้องออกมาในน้ำยา แล้วจะทำการเปลี่ยนน้ำยาที่มีของเสียออกและใส่ถุงใหม่กลับเข้าไป ในแต่ละวันจะทำ 3 – 4 ครั้งของเสียจะสามารถขจัดออกไปได้ การรักษาวิธีนี้ คือคนไข้อาจไม่ต้องอยู่ในโรงพยาบาล โดยช่วงที่ล้างไตใหม่ ๆ อาจต้องได้รับการดูแลโดยพยาบาลหรือแพทย์ว่าสามารถปฏิบัติเองได้ โดยการล้างไตจะต้องใช้ความสะอาดมาก เพราะถ้ามีเชื้อโรคก็จะมีการติดเชื้อในช่องท้องได้ และอาจมีอันตรายถึงชีวิต

การฟอกเลือด

โดยใช้เครื่องไตเทียม ต้องมาฟอกที่โรงพยาบาล ก็คือจะนำของเสียซึ่งออกจากเลือด ผ่านตัวกรองของเครื่องไตเทียม โดยตัวกรองมีหน้าที่กรองเอาของเสียในเลือดออก โดยการฟอกเลือดจะต้องมาฟอกสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ประมาณ 4-5 ชั่วโมง

การรักษา โรคไต จะเห็นได้ว่า การฟอกไต การล้างไต จะต้องทำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนั่นหมายความว่าผู้ป่วยจะต้องมีงบประมาณเพียงพอในการรักษาเพื่อการรักษาได้อย่างต่อเนื่อง แต่หากผู้ป่วยที่ไม่มีงบประมาณเพียงพอ การทำประกันสุขภาพเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะมาช่วยให้การรักษาได้อย่างต่อเนื่อง เรียกได้ว่าจะได้รับความสะดวกสบายในการรักษาจากโรงพยาบาลที่ทำประกันเอาไว้ และหากท่านใดสนใจสามารถทำประกันสุขภาพได้ที่ อีซี่อินชัวร์โบรกเกอร์ ที่เป็นโบรกเกอร์ชั้นนำด้านการทำประกันสุขภาพ มีเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาและคำแนะนำด้านการดูแลสุขภาพอย่างมืออาชีพ และนำเสนอเงื่อนไขที่ให้ความคุ้มครองสูงสุด และหากท่านสนใจสามารถเข้าชมรายละเอียดประกันสุขภาพได้ที่ www.easyinsure.co.th ตลอด 24ชั่วโมง

ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : โรงพยาบาลวิภาวดี , สมาคมพยาบาลโรคไต 

Loading

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *