อย่ามองข้าม ขับรถลุยน้ำ ต้องดูแลด่วนก่อนที่จะพัง ฉบับแสนง่าย สไตล์อีซี่

ไม่ใช่แค่คนในเมืองกรุงเท่านั้นที่เริ่มปรับตัวได้กับสภาวะน้ำท่วม เพราะช่วงหลังๆ นี้ตอนที่อากาศร้อนก็ร้อนจัดมากเหมือนจะแห้งตายคาถนน ส่วนพอฝนตกก็ตกติดๆ กันจนน้ำท่วมสูง สิ่งหนึ่งที่ต้องเจอก็คือการขับรถลุยน้ำไป ซึ่งค่อนข้างอันตรายอยู่เหมือนกัน บางครั้งเราไม่รู้ว่าตรงไหนจะมีหลุมมีบ่ออยู่ ก็ต้องอาศัยสังเกตจากรถคันหน้าเอาว่าเขาไปทางไหน แต่ความยุ่งยากในหน้าน้ำนี้ก็ไม่ใช่แค่เรื่องที่ต้องระมัดระวังขณะใช้รถและทักษะในการขับรถในสถานการณ์ที่ไม่ค่อยเอื้ออำนวยเท่านั้น หลังจากใช้รถเรียบร้อยแล้วก็ต้องให้ความสำคัญกับการดูแลรักษารถด้วย

อย่ามองข้าม ขับรถลุยน้ำ ต้องดูแลด่วนก่อนที่จะพัง

อย่ามองข้าม ขับรถลุยน้ำ ต้องดูแลด่วนก่อนที่จะพัง

  1. โดนน้ำมาก็ต้องล้างรถ : ไม่ใช่ว่าโดนน้ำโดนฝนมาแล้วรถดูสะอาดเอี่ยมจึงไม่ต้องล้างรถ เพราะความสะอาดนั้นเป็นเพียงภาพลวงตาเท่านั้นเอง ยังไงเราก็ต้องกลับมาทำความสะอาดชะล้างสิ่งสกปรกออกไป ไม่ใช่แค่ฝุ่นละออง ยังมีค่ากรดด่างของฝนหรือน้ำที่จะทำลายพื้นผิวของรถได้ด้วย

 

  1. ท้องรถก็ต้องล้าง : ปกติเวลาเราล้างรถ ช่วงท้องรถจะเป็นส่วนที่ถูกละเลยมากที่สุด หากเป็นสถานการณ์ธรรมดาจะไม่ล้างท้องรถบ้างก็ไม่เป็นอะไรหรอก แต่ถ้าไปลุยน้ำมาจนหนักหน่วงแล้วก็ต้องเอาน้ำฉีดล้างเข้าไปเสียหน่อยเพื่อขจัดเศษดิน เศษขยะที่อาจจะพัดมากับน้ำและบังเอิญมาติดอยู่ที่ใต้ท้องรถ ซึ่งหลายคนไม่รู้ว่านี่เป็นสาเหตุของไฟไหม้รถได้เหมือนกัน

 

  1. ตรวจสอบห้องเครื่องยนต์ : ส่วนของเครื่องยนต์มีส่วนที่เป็นของเหลวอยู่ด้วย เช่น น้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ เป็นต้น ซึ่งของพวกนี้หากถูกผสมด้วยน้ำก็จะทำให้เกิดปัญหากับเครื่องยนต์ได้ ถ้าพบว่ามีน้ำเข้าก็ต้องรีบเปลี่ยนถ่ายของเหลวเหล่านั้นในทันที

 

  1. ตรวจสอบห้องโดยสาร : ในกรณีที่น้ำขื้นสูงมีโอกาสที่น้ำจะเล็ดลอดเข้ามาในห้องโดยสารได้ และค่อนข้างเป็นเรื่องใหญ่พอสมควร เพราะเมื่อภายในห้องโดยสารมีความเปียกชื้นมันจัดการลำบาก แถมยังพาให้เกิดพวกเชื้อราและเชื้อโรคต่างๆ ส่งผลต่อสุขภาพของเราโดยตรง

 

  1. พารถไปตรวจสุขภาพชุดใหญ่ : เมื่อผ่านพ้นช่วงแห่งการลุยน้ำไปแล้ว ก็อย่าลืมเอารถเข้าศูนย์แล้วแจ้งช่างว่าเอารถไปลุยน้ำมา ให้ช่วยตรวจเช็คชุดใหญ่ให้ด้วย เพื่อให้แน่ใจว่าทุกชิ้นส่วนยังอยู่ในสภาพที่พร้อมต่อการใช้งานนั่นเอง

นอกจากการดูแลเหล่านี้แล้ว ก็อย่าลืมพกเบอร์ช่างหรือผู้ที่จะช่วยเหลือในยามคับขันเอาไว้ด้วย เนื่องจากการขับรถลุยน้ำนั้นเสี่ยงที่จะเกิดเหตุไม่คาดคิดได้ด้วย

ขอบคุณภาพจาก  ก้องเจริญยนต์ – blogger,Pinterest

Loading

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *