พ.ร.บ. รถยนต์

ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ไม่ใช่เรื่องยาก ย่อมาแล้ว อ่านไม่กี่นาทีก็เข้าใจ

วิธีต่อ พ.ร.บ. รถยนต์

สำหรับยานพาหนะทุกประเภทที่ประชาชนใช้ขับขี่อยู่ในประเทศไทยจะมีสิ่งสำคัญที่จะต้องทำคือการทำ ประกัน ภาคบังคับหรือที่เรียกอีกชื่อว่า พรบ. และการเสียภาษีประจำปีหรืออาจจะเรียกอีกแบบหนึ่งว่าการต่อทะเบียนรถ สำหรับเหตุผลในข้อบังคับที่ต้องทำเช่นนั้นก็คือ พรบ.ถือเป็นประกันภัยที่จะคุ้มครองทั้งผู้ขับขี่และผู้เสียหายซึ่งอาจจะเป็นผู้คนที่เดินสัญจรไปมา ให้ได้รับการรักษาพยาบาลหรือค่าจัดการศพเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นแล้วมีการบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ในส่วนของการต่อภาษีรถประจำปีถือเป็นหน้าที่ของประชาชนคนไทยปกติอยู่แล้ว สำหรับขั้นตอนการต่อ พรบ รถยนต์ และ พรบ. รถจักรยานยนต์ โดยทั่วไปนั้นมีขั้นตอนดังนี้

  • ตรวจรถจักรยานยนต์ และรถยนต์โดยสามารถตรวจสภาพได้ที่ ตรอ.(ตรวจรถเอกชน) ซึ่งขั้นตอนนี้จะต้องทำในกรณีที่รถจักรยานยนต์และรถยนต์ที่จะต่อ พรบ. มีอายุใช้งานเกินกว่า 5 ปี และเอกสารที่ใช้คือสำเนาสมุดทะเบียนรถ (หรือเล่มจริงในกรณีที่ไม่ได้ติดผ่อนกับไฟแนนซ์แล้ว) โดยเมื่อตรวจผ่านแล้วจะได้รับใบยืนยันการตรวจมา 1 ใบ ต้องนำใบยืนยันไปใช้แนบในการต่อ พรบ. เหตุผลที่รถจักรยานยนต์ที่มีอายุเกิน 5 ปี และรถยนต์ที่มีอายุเกิน 7 ปี จะต้องตรวจสภาพก่อนนั้นเพื่อเป็นการรับรองว่ารถยังอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้จริง เพราะขั้นตอนการต่อ พรบ. ทางเจ้าหน้าที่ขนส่งไม่ได้ลงมาตรวจสภาพรถด้วยตนเอง (กรณีรถยนต์ต้องมีอายุเกินกว่า 7 ปีจึงจะต้องตรวจสภาพก่อนทำเรื่องต่อ พรบ.)
  • ติดต่อทำเรื่องขอต่อ พรบ. ก่อน เนื่องจาก พรบ.ถือเป็นข้อบังคับที่เจ้าของรถทุกคนต้องทำ ไม่เช่นนั้นจะโดนจับและปรับเมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจพบ
  • ติดต่อทำเรื่องขอต่อภาษีรถจักรยานยนต์และรถยนต์ จากข้อมูลที่กล่าวข้างต้น การต่อภาษีรถถือเป็นข้อบังคับที่ประชาชนผู้เป็นเจ้าของรถจะต้องทำด้วยเช่นกัน เมื่อต่อภาษีรถจักรยานยนต์และรถยนต์เสร็จเรียบร้อยแล้วจะได้รับเอกสารว่าผ่านการต่อภาษีรถเรียบร้อยแล้ว เอกสารดังกล่าวจะเป็นแผ่นป้ายที่ระบุวันหมดอายุของทะเบียนรถในปีถัดไป

สำหรับการต่อ พรบ. และภาษีสำหรับรถจักรยานยนต์กับรถยนต์นั้น เจ้าของรถสามารถไปดำเนินการได้ด้วยตนเองตามรายชื่อสถานที่ดังต่อไปนี้ คือ กรมการขนส่งทางบก ที่ทำการไปรษณีย์ ห้างสะดวกซื้อที่มีระบุว่าสามารถดำเนินเรื่องได้ เคาน์เตอร์เซอร์วิส และบริษัทไฟแนนซ์ต่างๆ ซึ่งเจ้าของรถบางรายอาจจะไม่สะดวกในการไปติดต่อด้วยตนเองก็สามารถยื่นเรื่องให้ทาง ตรอ.(ตรวจรถเอกชน) ไปดำเนินเรื่องต่อ พรบ.และภาษีให้ได้ (แนบเอกสารสำเนาทะเบียนเล่มรถให้) โดยค่าใช้จ่ายในการไปดำเนินเรื่องแล้วแต่ทางเจ้าของรถจะตกลงกับทาง ตรอ. เอง และนัดวันมารับเอกสารกันในภายหลัง เพิ่มเติมสักเล็กน้อยคือเจ้าของรถสามารถต่อ พรบ. ทางออนไลน์ได้ที่เวปไซต์ของกรมการขนส่งทางบกก็ได้เช่นกัน (วิธีการและเอกสารที่ต้องเตรียมสามารถเข้าไปดูได้ที่เวปไซต์ของกรมการขนส่งทางบก)

ขอบคุณภาพจาก ประกันภัยรถยนต์

https://www.easyinsure.co.th/

Loading

2 thoughts on “ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ไม่ใช่เรื่องยาก ย่อมาแล้ว อ่านไม่กี่นาทีก็เข้าใจ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *