แต่งรถแบบถูกกฏหมาย

อยากจะแต่งรถซิ่งแต่กลัวตำรวจจับ # แต่งรถอย่างไรให้ถูกกฎหมาย มาอ่าน

เอาใจสายซิ่งกันสักหน่อยกับการแต่งรถ หลายคนอยากแต่ง แต่กลัวตำรวจจับ หลายคนแต่งจนโดนจับจนเบื่อ วันนี้เราจะมีเคล็ดลับและคำแนะสำหรับแต่งซิ่งให้ถูกกฎหมายมาฝากกัน ซึ่งเราจะบอกกันเป็นจุดๆเลยว่าแต่งอะไรจะโดนเพ่งเล็งบ้างและแก้อย่างไร
1. ป้ายไทยไม่เท่ห์ใช้ป้ายาวเจ๋งกว่า : อันนี้โดนเพ่งแน่ไม่ว่าจะหน้าหรือหลัง ดังนั้นจุดนี้หากเราเปลี่ยนป้ายเป็นป้ายแต่งโดนจับชัวร์ และค่าปรับตั้ง 2,000 บาท เก็บไว้เปย์สาวๆจะดีกว่า ป้ายทะเบียนถ้าจะแต่งกรอบทะเบียนแต่งได้แต่ขนาดป้ายต้องเป็นป้ายเดิมจากกรมขนส่งเท่านั้น !! และอย่าลืมป้ายต้องชัดเจนตัวหนังสือตัวเลขเบลอไม่ชัดหรือเอาอะไรปิดทับ โดนปรับด้วยนะจ๊ะ

2. โหลดเตี้ยโหลดแป้กจุดเด่นของการโดนเรียก : จุดนี้นักซิ่งรู้กันดี และเราเคยนำเสนอกันไปแล้ว หากจะโหลดต้องไม่เกินมาตรฐานของรถรุ่นนั้นๆโดยจะดูระดับไฟหน้าและพื้นถนนต้องไม่ต่ำกว่า 40 เซนติเมตร แต่ส่วนใหญ่เกินกันทั้งนั้น โดนเรียกโดนปรับก็อย่าไปเถียงเพราะผิดจริง ดังนั้นโหลดแค่พอดีตามมาตรฐานที่เขาอนุญาตไว้แล้วจะดีกว่า

3. พี่จะเป็นตีนโตขาโจ๋บิ๊กฟุต : ปรกติออฟโรดมาตรฐานตามรุ่นรถและจากโรงงานจะไม่มีปัญหาอยู่แล้ว แต่ ๆ ก็อยากจะโตกว่ามาตรฐานนี่นา งานนี้ก็ผิดนะจ๊ะเขามีมาตรฐานไว้ว่าการตรวจสอบจะวัดจากระดับกึ่งกลางไฟหน้า กับพื้นถนนจะต้องไม่สูงกว่า 135 เซนติเมตร แต่จะแอ๊บแค่ไฟหน้าไม่เกินแต่หน้ารถตูดรถโด่งเหมือนศัลยกรรมดั้งมาก็โดนด้วยเช่นกัน แต่หากอยากโตจริงๆต้องมีใบรับรองจากวิศวกรและต้องแจ้งกับขนส่งด้วยนะว่าแต่งมาเพื่ออะไรใช้ในพื้นที่ไหน ว่ากันเป็นเคสๆ ยุ่งยากไหมล่ะพ่อตีนโต

4. ไม่โหลดแต่ยางเต็มซุ้มเพื่อความเท่ห์เบา ๆ : แม้ว่าเรื่องการเปลี่ยนยาง ใช้ยางผิดขนาดจะไม่ผิดกฎหมาย ใส่ล้อซิ่งเปลี่ยนล้อแต่งไม่ผิดกฎหมาย แต่หากล้นออกมาแบบเห็นได้ชัด โดนปรับได้นะจ๊ะ ไอ้ประเภทหน้าแบะ หลังแบะ นี่โดนเรียกกันมาหลายคันแล้วที่สำคัญอันตรายกับรถเราและตัวเราด้วยนะ ขับก็ยากระวังมากกว่าปรกติขับเร็วๆก็เสี่ยง เอาแค่พอดีจะดีกว่าไหม

5. แต่งสีฝากระโปรงดำด้าน ดำเงา จัดชุดคาร์บอนไฟเบอร์ : หลายคนคิดว่าไม่ผิดแต่จริงๆแล้วมันคือการดัดแปลงสี การเปลี่ยนสี ซึ่งหากเอกสารของรถสีไม่ตรงกับที่ตำรวจเห็นก็โดนปรับจร้า แต่มีเทคนิคคือ แต่งได้แต่ต้องไม่เกิน 50% ของสีรถเดิม แต่ส่วนใหญ่แต่งกระโปรงหน้าหลังอันนี้ตีกว่าเกินนะ ทางทีดีเอาแค่เบาๆจุดเดียวสวยๆเก๋ๆ จะดีกว่าหรือแจ้งเปลี่ยนเป็นทูโทนไปเลยก็ไม่โดนปรับแล้ว แค่เสียเวลานิดหน่อยแต่คุ้มค่าระยะยาว

6. ท่อใหญ่ท่อสูตรเสียงกระหึ่มดังแต่ท่อล้อไม่หมุน : จุดหลักของสายซิ่งที่นิยมมากที่สุด และโดนจับมากที่สุดหากใหญ่เกินเช่นพวกที่ทำท่อเกิน 5 นิ้วขึ้นไปตำรวจเห็นก็โดนจับได้และหากวันเสียงแล้วเกินมาตรฐานส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 90-100 เดซิเบล หากสูงกว่านี้จ่ายค่าปรับไปนะจ๊ะ

7. แต่งไฟหน้าหลากสีนี่รถทัวร์หรือรถยนต์ : นิยมกันเป็นพักๆสำหรับไฟสีไม่ว่าจะพ่นโคมเป็นขาวเป็นดำ มันเสี่ยงต่อการเรียกค่าปรับแม้ว่าหลายคนจะแย้งว่ากฎหมายไม่ได้มีระบุไว้แต่เขามีเครื่องทดสอบนะ คือ แสงจะต้องตกเป็นแนวระนาบไม่ต่ำกว่า 2 องศาไม่เอียงขวาด้วยและสีโคมไฟที่ถูกกฎหมายคือเหลืองอ่อนกับสีขาวเท่านั้น ไอ้ประเภทใส่ไฟสีเติมนิดๆหน่อยเช่นไฟส่องป้ายเป็นฟ้าเป็นเขียวนี่ผิดกฎหมาย ทางที่ดีชุดไฟอย่าแต่งดีที่สุดเอาตามมาตรฐานเพราะมันช่วยให้เราปลอดภัยตอนกลางคืนเปลี่ยนทรงได้แต่อย่าเปลี่ยนสี หรือแม้ติดไฟ LED จนดูลิเกก็โดนเช่นกันติดใต้ท้องมีโดนกันมาแล้ว

8. ติดโรลบาร์เหมือนรถแข่งก็ผิดนะจ๊ะ : แต่หากจะติดต้องติดแบบไม่ถอดเบาะหลังออกแต่ต้องดูประเภทของโรลบาร์ด้วยว่าติดขนาดไหน ถ้าแต่เสริมความปลอดภัยดูแล้วไม่น่าเกลียดไม่เว่อร์ไม่กระทบโครงสร้างรถตำรวจก็ไม่จับ แต่หากเล่นโรลบาร์แต่งเต็มจัดหนักฟูลเซตแบบ Spec Frame แถมถอดเบาะโดนจับแน่นอน

9. เบาะรถแข่งเท่ห์และปลอดภัยจะจับไหม : เบาะแต่งทั่วไปหรือเบาะรถแข่งที่ได้มาตรฐานใส่ไปเถอถ้ามีเงินใส่ไม่ผิดแม้จะมีจุดรัดเข็มขัดนิรภัยเกินจากเบาะทั่วไปก็ไม่ผิดหากติดตั้งให้ได้มาตรฐานแน่นหนาและคาดตามกฎหมาย แต่หากเป็นเบาสั่งทำชนิดใหญ่คับรถโดนจับแน่และที่แน่ๆไม่มีเข็มขัดนิรภัยก็ผิดมีแล้วไม่คาดก็ผิด

10. ติดเทอร์โบโมกล่องควบคุม : ผิดชัวร์ป้าป หากเจอตรวจควันดำ เพราะติดชุดเทอร์โบโมกล่องควบคุมนั้นต้องติดตั้งให้ได้ตามมาตรฐานการจูนเครื่องจูนน้ำมันต่างๆต้องไม่เกินค่าที่กฎหมายกำหนด หากโดนเรียกวัดควันดำแล้วค่าออกมาเกินกำหนดนั้นผิดแน่นอนซึ่งกรมขนส่งระบุไว้ดังนี้คือ รถที่จดทะเบียนก่อน 1 พ.ค. 2536 วัดค่า Co ต้องไม่เกิน 4.5 เปอร์เซ็นต์ และวัดค่า Hc ไม่เกิน 600 PPM ,รถที่จดทะเบียนหลัง 1 พ.ค. 2536 วัดดค่า Co ต้องไม่เกิน 1.5 เปอร์เซ็นต์ และวัดค่า Hc ต้องไม่เกิน 200 PPM หรือจำง่ายๆว่า ควันดำต้องไม่เกิน 50% โดยใช้เครื่องวัดแบบกระดาษกรอง กำหนดที่ 45%

เรียบเรียงโดย easyinsure.co.th

Loading

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *