4 เคล็ดลับ เช็ครถยนต์หลังลุยน้ำ

4 เคล็ดลับ เช็ครถยนต์หลังลุยน้ำ ฉบับแสนง่าย สไตล์ อีซี่

เมื่อผู้ขับขี่จำเป็นต้องขับรถลุยน้ำ โดยประเมินแล้วว่าสามารถขับผ่านไปได้ ซึ่งการขับขี่ผ่านบริเวณที่มีน้ำท่วมขังในระดับที่สูงนั้นไม่แนะนำให้ทำ แต่ถ้าผู้ขับขี่มีความจำเป็นที่จะต้องขับผ่านบริเวณนั้นจริงๆ เมื่อขับผ่านไปแล้วควรทำการตรวจสอบรถหลังจากลุยน้ำดังต่อไปนี้

4 เคล็ดลับ เช็ครถหลังลุยน้ำ

4 เคล็ดลับ เช็ครถยนต์หลังลุยน้ำ 

  1. ตรวจสอบบริเวณใต้ท้องรถ ล้อรถ หรือบริเวณใกล้เคียง เพื่อดูว่าหลังจากการขับรถลุยน้ำมาแล้วมีเศษขยะที่จะไปอุดตันระบบเครื่องยนต์หรือใบพัดหรือไม่ ตรวจดูวัสดุจำพวกที่เมื่อแห้งแล้วสามารถเป็นเชื้อเพลิงติดไฟได้ นำเศษขยะและวัสดุเหล่านั้นออกเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายเช่นไปขัดระบบไฟในรถหรือเป็นต้นเหตุทำให้ไฟไหม้ การทำความสะอาดสามารถทำได้ด้วยการฉีดน้ำเพื่อไล่เศษดินและโคลนออกไป
  2. การสำรวจดูน้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ หรือน้ำมันต่างๆ ว่ามีน้ำเข้าไปผสมด้วยหรือไม่ เพราะน้ำมันเครื่องเหล่านี้ถ้ามีน้ำชนิดอื่นเข้าไปผสมด้วยจะทำให้เกิดความเสียหายของเครื่องยนต์ได้ ถ้าพบว่ามีการปนเปื้อนของน้ำเข้าไปควรทำการเปลี่ยนถ่ายทันที ในกรณีที่ไม่สามารถเปลี่ยนด้วยตนเองได้ก็ควรนำรถเข้าตรวจเช็คที่ศูนย์บริการ
  3. เมื่อขับรถลุยน้ำท่วมมาแล้ว ควรไล่น้ำออกจากระบบเบรค สามารถทำได้ด้วยการเหยียบเบรคย้ำๆ ในขณะที่ขับรถออกไปด้วยความเร็วต่ำๆ เพื่อเป็นการทำให้เบรคที่เปียกน้ำแห้ง เพราะเมื่อระบบเบรคเปียกน้ำจะทำให้หยุดรถไม่ได้ในระยะที่ต้องการและอุบัติเหตุจะตามมาได้
  4. เมื่อน้ำท่วมที่ส่วนลูกปืนล้ออาจจะมีเศษดินหรือขยะที่เข้าไปติด ทำให้ล้อไม่สามารถหมุนได้ปกติ การหมุนของล้อจะอาศัยการทำงานของลูกปืนล้อที่มีสารหล่อลื่นช่วยในการหมุนร่วมด้วย วิธีการแก้ก็คือการล้างหรือนำเศษดินออกจากบริเวณดังกล่าว

ในการเช็คระบบต่างๆ ของรถยนต์หลังจากขับรถลุยน้ำมาแล้ว ยังมีจุดต่างๆ ให้เช็คอีกมากมาย ยกตัวอย่างเช่น ระบบเฟืองท้าย ระบบปรับอากาศ ชิ้นส่วนที่อาจจะหลุดไปในขณะลุยน้ำ เช่น ป้ายทะเบียน น็อตยึดบางตัว เป็นต้น เพราะอาการผิดปกติที่เกิดจากการขับรถลุยน้ำอาจจะไม่ได้แสดงออกมาทันทีที่ผ่านที่น้ำท่วมขัง แต่อาจจะแสดงในช่วงหลังจากนั้น 1-2 วันก็ได้ ในการตรวจสอบนี้ผู้ขับขี่อาจจะนำรถเข้าไปตรวจสอบที่ศูนย์บริการรถยนต์ ของยี่ห้อที่ตนเองใช้อยู่ โดยแจ้งทางศูนย์บริการให้ตรวจสอบและแจ้งราคาอะไหล่ที่จำต้องเปลี่ยนก่อนทุกครั้ง

แม้กระนั้นผู้ขับขี่ก็ควรต้องตรวจสอบด้วยตนเองด้วยเช่นกัน เพราะถือเป็นความปลอดภัยของตัวผู้ขับขี่เอง เข้าทำนองว่า “ไม่มีใครดูแลความปลอดภัย  ให้ตัวเอง  ได้ดีกว่าตัวเอง”

ขอบคุณภาพจาก Auto Sanook ,บล็อก – Proprakan

Loading

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *