กฎหมายห้ามนั่งท้ายกระบะ

กฎหมายห้ามนั่งท้ายกระบะ ผิดกฎหมายไหม ตำรวจจับปรับเท่าไหร่บ้างในปี 2562

กฎหมายห้ามนั่งท้ายกระบะ

อันตรายที่เกิดจากการนั่งท้ายกระบะเป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบ่อย รัฐบาลจึงได้ออก กฎหมายห้ามนั่งท้ายกระบะ อย่างเป็นทางการ ซึ่งได้สร้างความไม่พอใจกับประชาชนที่ต้องใช้ท้ายกระบะในการบรรทุกคนงานเป็นอย่างมาก

แต่เพื่อความปลอดภัยในชีวิตของผู้นั่งรถท้ายกระบะ กฎหมายห้ามนั่งหลังรถกระบะจึงต้องได้รับการส่งเสริมอย่างเร่งด่วน และจะต้องชี้แจงกฎหมายฉบับนี้ให้กับประชาชนให้ได้รับความเข้าใจเพื่อการปฏิบัติตามกฎหมายนี้ได้อย่างเคร่งครัด

ก่อนอื่นทำความเข้าใจกับคำว่า รถกระบะ กันก่อน นิยามของคำว่า รถกระบะ คือ ชื่อรถขนิดหนึ่งใช้บรรทุกสิ่งของ ทำตัวถังเป็นรูปแบบกระบะ เช่น รถกระบะรับจ้างขนของ ที่รถยนต์ส่วนหน้าเป็นห้องสำหรับโดยสาร ส่วนหลังเป็นกระบะสำหรับบรรทุกของและสามารถเปิดท้ายได้

แต่ด้วยปัจจุบัน ประชาชนได้นำรถกระบะมาใช้โดยสารคน ที่ไม่ใช่การบรรทุกสิ่งของเป็นจำนวนมาก จากที่เห็นได้คือ ตามเทศกาลปีใหม่ วันสงกรานต์ ที่มักจะบรรทุกผู้โดยสารไว้ท้ายกระบะ ซึ่งนำมาในเรื่องของอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นถึงขั้นบาดเจ็บ พิการ หรือเสียชีวิต รัฐบาลจึงเห็นว่าเรื่องที่บรรทุกผู้โดยสารท้ายรถกระบะเป็นเรื่องสำคัญต่อชีวิตของประชาชน จึงได้ทำการออกกฎหมายห้ามนั่งท้ายรถกระบะออกมาอย่างเด็ดขาด

นั่งกระบะหลัง ผิดกฎหมายจริงหรือไม่

เรื่องของ กฎหมายห้ามนั่งท้ายกระบะ นี้เป็นที่กล่าวถึงกันในช่วงปลายปี พ.ศ.2559 ถึงปัจจุบัน เนื่องจากมีการจับปรับผู้ที่นั่งซ้อนท้ายรถกระบะที่ไม่มีหลังคา หรือที่เรียกว่า นั่งแคป โดยผู้ที่ใช้งานรถกระบะมักจะเป็นรถบรรทุกคนงานตามโครงการก่อสร้าง คนทำงานสวนทำไร่ และอื่น ๆ เช่นนั่งท้ายรถกระบะกลับบ้านต่างจังหวัด แต่รู้หรือไม่ว่าตอนนี้มีกฎหมายห้ามนั่งท้ายรถกระบะออกมาแล้ว เรามาดูกันว่ากฎหมายมีข้อบังคับอย่างไรบ้าง

ความจริงกฎหมายห้ามนั่งท้ายรถกระบะมีอยู่แล้วตามข้อบังคับของพระราชบัญญัติ พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ.2522 และ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 โดยมาตรา 21 ได้พูดถึงการห้ามใช้รถที่ไม่ตรงตามประเภทที่จดทะเบียนไว้ โดยระบุว่า ห้ามใช้รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกิน 1,600 กก.เป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน หรือใช้รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเป็นรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล

คือต้องใช้รถยนต์ให้ตรงตามที่ได้จดไว้ในทะเบียน เช่นถ้าใครจดทะเบียนรถกระบะเป็นรถบรรทุก (ป้ายสีเขียว) จะเอามาบรรทุกคนไม่ได้ และ ถ้าใครจดทะเบียนรถกระบะเป็นรถยนต์นั่งเกิน 7 คน (ป้ายสีน้ำเงิน) โดยที่ทำการต่อเติมหลังคาและมีที่นั่งชัดเจน จะนำมาใช้บรรทุกสิ่งของไม่ได้

แต่ถึงอย่างไร พ.ร.บ. ฉบับนี้ได้มีการปรับเปลี่ยนแก้ไขเพิ่มเติมหลายครั้งตามยุคสมัย ล่าสุดรัฐบาลชุดปัจจุบัน พล.อ.ประยุกต์ จันทร์โอชา ได้เพิ่มเติมแก้ไขอีกหลายมาตรา หลัก ๆ คือ การเพิ่มโทษเมาขับ แข่งรถในทาง มาตรการบังคับให้ผู้โดยสารทุกที่นั่งท้ายรถต้องคาดเข็มขัดนิรภัย

ส่วนการห้ามนั่งแค็ป นั่งกระบะหลัง ไม่ได้มีมาตรการพิเศษแต่อย่างใด เนื่องจากบรรจุอยู่ใน พรบ รถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 21 อยู่แล้วที่พูดถึงการห้ามใช้รถไม่ตรงตามประเภทที่จดทะเบียนไว้ ห้ามใช้รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัม เป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน หรือ ใช้รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเป็นรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล

  • กรณีนั่งหลังกระบะในช่วงเทศกาล

หากคุณจะนั่งโดยสารท้ายรถกระบะ ขอให้นั่งทบทวนก่อนว่าคุ้มค่าหรือไม่กับความเสี่ยงหรืออุบัติเหตุที่จะตามมา เมื่อเทียบกับราคาตั๋วรถทัวร์ ที่ผ่านมาได้มีการผ่อนผันให้นั่งรถท้ายกระบะได้ ตราบใดที่คนขับและคนนั่งยังปฏิบัติตามกฎจราจร แต่เจ้าหน้าที่ยังมีสิทธิตักเตือนผู้ที่นั่งซ้อนท้ายกระบะที่เปิดโล่ง ไม่มีหลังคา และหากพบว่าท้ายกระบะผู้โดยสารดื่มแอลกอฮอล์ก็จะถูกเรียกตักเตือนให้นั่งพักหายสร่างก่อนจึงปล่อยให้ไปต่อได้

  • กรณีนั่งหลังกระบะขึ้นทางด่วน

ทางด่วนพิเศษ มีข้อจำกัดเกี่ยวกับการนั่งท้ายรถกระบะที่ไม่มีหลังคาปกปิด ว่าห้ามให้รถกระบะบรรทุกผู้โดยสารขึ้นทางด่วนพิเศษเด็ดขาด รวมถึงรถกระบะที่บรรทุกของมาโดยไม่รัดสิ่งของ หรือ คลุมผ้าให้ปลอดภัย เพื่อป้องกันอับัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นบนทางด่วน สร้างความลำบากแก่เพื่อนร่วมทางเป็นอย่างมาก อาจต้องเป็นผู้กระทำผิดเพราะความประมาทของคุณ

ฉะนั้นหากคุณตำรวจพบว่าผู้นั่งท้ายรถกระบะตามถนนทั่วไปที่ไม่ใช่ทางด่วน ก็อาจจะเรียกกล่าวตักเตือนได้ แต่ก็ไม่จับปรับแต่อย่างไร ยกเว้นการนั่งรถกระบะขึ้นทางด่วน ทั้งรถทั้งคนซ้อนจะใช้เส้นทางนี้ไม่ได้ ยกเว้นเป็นรถปิดอัพที่มีโครงหลังคาและจดทะเบียนเป็นรถนั่งมีการดัดแปลงรถยนต์เพื่อจัดที่นั่งที่ปลอดภัยแล้วเท่านั้น

  • นั่งหลังรถกระบะ ตำรวจจับปรับเท่าไหร่บ้างในปี 2562

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่ารถกระบะด้านหลัง หรือแค็บไม่ได้ออกแบบมาเพื่อบรรทุกคน รถถูกออกแบบมาเพื่อให้บรรทุกสิ่งของเท่านั้น โดยทางกรมขนส่งทางบกได้ชี้แจงว่า กรณีที่ให้บุคคลเข้าไปนั่งในแค็บหรือท้ายกระบะ ถือว่าเป็นความผิดกรณีใช้รถผิดประเภท

ในกรณีนี้ถือว่าเป็นความผิด เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจับปรับในข้อหาใช้รถยนต์ผิดประเภท ซึ่งถือว่าผิดตาม พ.ร.บ. รถยนต์ 2522 มาตรา 21 ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถไม่ตรงตามประเภทที่จดทะเบียนไว้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

เพราะรถกระบถจดทะเบียนเป็นรถจดทะเบียน เป็นรถกระบะบรรทุกส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง ซึ่งจะมีป้ายทะเบียนกำกับประเภทรถพื้นที่ขางตัวอักษรสีเขียว อีกทั้งวัตถุประสงค์ของแค็บ คือมีไว้เพื่อตั้งวางสิ่งของเท่านั้น ดังนั้นหากเจ้าหน้าที่พบเห็นจะต้องดำเนินการปรับ ซึ่งความผิดจะตกอยู่ที่ผู้ขับรถ ไม่ใช้คนที่เข้าไปนั่งในแค็บหรือท้ายกระบะ

สำหรับประชาชนที่มีรถกระบะและต้องการบรรทุกคนโดยสารจะต้องนำรถไปต่อเติมหลังคาและติดตั้งที่นั่ง 2 แถว และนำรถยนต์ไปจดทะเบียนต่อกรมการขนส่งทางบกเป็นรถโดยสารสาธารณะ 7 ที่นั่งขั้นไป แต่ไม่เกิน 12 ที่นั่งจึงจะถือว่าไม่ผิดกฎหมาย

เมื่อได้รับทราบถึง กฎหมายห้ามนั่งท้ายกระบะ กันแล้วว่าผิดกฎหมาย มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท ก็อยากจะขอร้องให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมายนี้ เพื่อความปลอดภัยต่อคุณ ผู้โดยสาร และ เพื่อนร่วมทาง หากมีความจำเป็นต้องบรรทุกผู้โดยสารเป็นประจำ ก็นำรถไปติดตั้งโครงเหล็กหลังคา และไปจดทะเบียนให้ตามการใช้รถของประเภทนั้นให้ถูกต้องตามกฎหมายกันซะ

Loading

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *