รถติดหล่ม

รถติดหล่ม โคลน ทราย ทำยังไงดี ใช้อุปกรณ์อะไรช่วยได้บ้าง

รถติดหล่ม

ถนนหนทางในบ้านเรามีลักษณะที่แตกต่างกันไปยิ่งสถานที่ที่เราจะไปไม่คุ้นเคยมาก่อนเหตุการณ์ รถติดหล่ม อาจเกิดขึ้นได้กับรถของคุณ รถติดหล่มอาจเกิดขึ้นกับรถของคุณได้ โดยเฉพาะในสภาพดินฟ้าอากาศไม่เป็นใจ อาจทำให้ถนนหนทางที่มีดินโคลนอยู่แล้วเกิดเป็นหลุมเป็นบ่อได้

สำหรับผู้ที่ชอบขับรถเดินทางไปต่างจังหวัด โดยเฉพาะตามป่าเขา หรือบนถนนที่มีหลุมบ่อ หล่มดิน หล่มโคลน หล่มทราย อาจเกิดรถติดหล่ม ได้ง่าย ยิ่งเดินทางคนเดียวแล้วด้วย เราจะมีวิธีแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ยังไงนั้น มาดูกัน

  • เราต้องดูให้ดีก่อนว่าล้อไหนของรถยนต์ที่ติดหล่ม – ก่อนอื่นต้องดูก่อนว่า ล้อรถยนต์ล้อไหนของเราที่ติดหล่ม จะเป็นล้อที่ขับเคลื่อนหรือไม่ใช่ล้อที่ขับเคลื่อน
    • ล้อขับเคลื่อน – ถ้าล้อรถยนต์ที่ติดหล่มเป็นล้อขับเคลื่อน เราต้องหาอะไรมาหนุนแล้วค่อย ๆ เร่งเครื่อง
    • ล้อไม่ขับเคลื่อน – เราต้องใช้วิธีเดินหน้าสลับกับถอยหลังช้า ๆ เรื่อย ๆ ต่อเนื่องทำไปแบบนี้เพื่อให้เกิดแรงเหวี่ยง ถ้ามั่นใจแล้วว่ารถยนต์ของเรามีแรงเหวี่ยงมากพอก็เร่งเครื่องขึ้นได้เลย รับรองว่าขึ้นจากหล่มได้แน่นอน
  • ลองสลับเดินหน้าและถอยหลัง – หากรถยังพอขยับได้บ้างก็เป็นการบอกว่ารถไม่ได้ติดหล่มมากหนักจนเกินไป ให้ผู้ขับเดินหน้าและถอยหลังสลับกันเป็นระยะ ๆ ให้เกิดแรงเหวี่ยง จนเมื่อได้จังหวะที่ล้อรถขึ้นมาสูงแล้วจึงเหยียบคันเร่งเพื่อให้ล้อหลุดออกมาจากหล่ม ถ้ารถมีระบบป้องกันล้อหมุนฟรี ระบบควบคุมการทรงตัว ให้ปิดระบบไปเลย เพราะทันทีที่ล้อหมุนฟรี ระบบจะสั่งตัดกำลังเครื่องยนต์ทันที ทำให้ไม่สามารถใช้กำลังเครื่องยนต์เต็มที่ เพื่อให้หลุดจาก หล่มโคลน หล่มทรายได้
  • หากิ่งไม้หรือก้อนหินมาช่วย – ถ้าล้อรถยนต์ที่ขับเคลื่อนของเราติดหล่ม หากเราใจร้อนเร่งเครื่องเพื่อจะให้รถยนต์หลุดออกจากหล่มทันที เป็นความคิดที่ผิด เพราะการเร่งเครื่องแบบนั้นจะยิ่งทำให้หล่มลึกขึ้น แล้วเราจะยิ่งนำรถยนต์หลุดจากหล่มยากมากขึ้น วิธีที่ดีกว่านั้นคือ เราจะต้องหาก้อนหินหรือกิ่งไม้มาวางขวางล้อเอาไว้ เพื่อให้ล้อรถยนต์ของเราค่อย ๆ ปีนขึ้น ค่อย ๆ ทำจนกว่าจะหลุดออกจากหล่มในที่สุด
  • แผ่นไม้กับเชือกก็ช่วยเราได้นะ – ถ้ารถยนต์พอจะมีเชือกอยู่บ้าง เราก็แค่หาแผ่นไม้ที่มีความแข็งแรงพอมาเพื่อผูกติดกับล้อรถยนต์ของเราให้แน่น ๆ ตามแนวขวางนะจ๊ะ จากนั้นเราก็ค่อย ๆ ออกรถอย่างช้า ๆ รถยนต์ของเราก็จะค่อย ๆ เคลื่อนที่ออกจากหล่มได้เอง
  • ใช้รอก – อีกวิธีคือ การใช้รอกที่มีความแข็งแรงมากพอมาผูกติดไว้กับหน้ารถยนต์ของเรา และเชือกอีกฝั่งก็ผูกติดไว้กับเสา หรือ ต้นไม้ใหญ่ที่มีความแข็งแรง เพื่อช่วยให้ค่อย ๆ ดึงรถยนต์ของเราขึ้น หรือจะใช้แรงคน ถ้าแถวนั้นมีคนมากพอก็ขอแรงให้เค้าช่วยกันดึงรถยนต์ขึ้นมาก็ได้

สำหรับกรณีการลากรถมีข้อควรระวังเพิ่มเติมดังนี้

  • ควรศึกษาจุดหรือตำแหน่งที่ใช้ลากรถให้ดีก่อน เพราะถ้าใช้ผิดจุดจะทำให้ตัวรถหรือเครื่องยนต์เกิดความเสียหายได้
  • ระหว่างลากรถควรติดเครื่องรถยนต์ไว้ และผู้ขับขี่ช่วยเร่งเครื่องร่วมไปด้วย ไม่ควรให้รถลากไปในสภาพที่อยู่ในเกียร์ P เพราะจะทำให้ระบบขับเคลื่อน เฟือง เพลาของรถเสียหายได้

การแก้ปัญหาที่ผิดวิธีเมื่อรถติดหล่ม

  1. การเร่งเครื่องไม่ได้ช่วยอะไร จะยิ่งทำให้รถจมลงไปมากยิ่งขึ้น เพราะถ้า รถติดหล่ม และล้อหมุนฟรีอยู่กับที่ หมายถึงว่าแรงเสียดทานระหว่างผิวล้อกับพื้นถึงจุดพอดีไม่ว่าจะเหยียบให้ล้อหมุนเร็วเท่าไหร่ รถก็จะยิ่งอยู่ที่จุดเดิม ไม่สามารถที่จะดันตัวไปข้างหน้าได้เลย
  2. การลดหรือเพิ่มน้ำหนักในรถไม่มีผลต่อรถที่ติดหล่ม เพราะล้อรถที่หมุนขณะติดหล่มนั้นมันกำลังอยู่ในพื้นเอียงของหลุมในฝั่งที่กำลังมุ่งหน้าไป เราต้องแก้ไขโดยสารเพิ่มแรงเสียดทานระหว่างล้อกับพื้นผิวสัมผัสด้านที่ล้อเอียงลงไป การลดหรือเพิ่มน้ำหนักในแนวดิ่งจึงไม่มีผลอย่างใด
  3. การช่วยกันขย่มกระบะหลังรถ ไม่สามารถทำให้รถขึ้นจากหล่มได้ เพราะที่เห็นว่ารถขยับขึ้นลง เป็นแหนบรถกระเพื่อมขึ้นลงอยู่กับที่เท่านั้น รถไม่สามารถรอดจากการติดหล่มได้

สถานการณ์ที่ไม่มีใครอยากให้เกิดเลยคือรถติดหล่ม ฉะนั้นถ้าเป็นไปได้ผู้ขับขี่ไม่ควรเสื่ยงขับรถเข้าไปในจุดที่ไม่มั่นใจในเส้นทางนั้น โดยเฉพาะในเวลากลางคืน ฝนตก หรือบนถนนที่เป็นดิน โคลน หรือ มีน้ำท่วมขัง จะทำให้ผู้ขับขี่ประเมินสภาพถนนได้ยาก นอกจากจะเกิดความอันตรายแล้วจะยิ่งเพิ่มโอกาสให้รถติดหล่มมากยิ่งขึ้น

ดังนั้นแล้วการที่ รถติดหล่ม นั้น จึงไม่ใช่เป็นเรื่องที่น่ากลัวหรือแก้ไขยากอีกต่อไป เพียงแต่ก่อนจะทำอะไรเราต้องตั้งสติ อย่าตกใจ และ นำวิธีแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้นไปใช้ ทั้งข้อควรทำและข้อที่ต้องระวัง หรือ อีกทางเลือกหนึ่งคือ การทำประกันรถยนต์ไว้ช่วยเผื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดกับเรา เวลาเดินทางไปไหนมาไหนก็จะอุ่นใจทุกครั้งที่เดินทางเพราะมี ประกันภัยรถยนต์ คอยอยู่เคียงข้างคุณเสมอ

Loading

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *