พนักงานนำรถยนต์บริษัทไปใช้ในวันหยุด

พนักงานนำรถยนต์บริษัทไปใช้ในวันหยุด และเกิดอุบัติเหตุประกันคุ้มครองไหม

พนักงานนำรถยนต์บริษัทไปใช้ในวันหยุด

เป็นที่พบเห็นได้บ่อยกรณี พนักงานนำรถยนต์บริษัทไปใช้ในวันหยุด ไม่ว่าจะเป็นกิจธุระหรือขับไปเที่ยว ถ้านำไปใช้แล้วไม่เกิดอุบัติเหตุใดๆก็คงจะไม่เกิดปัญหา แต่บริษัทจะต่อว่าคุณฐานนำรถบริษัทไปขับในวันหยุดอย่างไรก็อยู่ที่เจ้านายของคุณแล้วหล่ะ

ซึ่งกรณีพนักงานนำรถยนต์บริษัทไปใช้ในวันหยุดแล้วเกิดอุบัติเหตุคือ พนักงานขับรถไปชนกับคู่กรณีโดยพนักงานคนนั้นเป็นฝ่ายผิด กรณีเช่นนี้ประกันภัยจะให้ความคุ้มครองหรือไม่

พนักงานนำรถยนต์บริษัทไปใช้ในวันหยุดประกันคุ้มครองไหม

เมื่อพนักงานนำรถยนต์บริษัทไปใช้ในวันหยุด และเกิดอุบัติเหตุทำอย่างไร และในกรณีเช่นนี้บริษัทประกันจะให้ความคุ้มครองหรือไม่

กรณีขึ้นชื่อว่า “พนักงานบริษัท” ย่อมหมายถึงบุคคลหนึ่งที่เป็นลูกจ้างบริษัท ที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของบริษัท ได้นำรถยนต์ของบริษัทไปใช้ในวันหยุด ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลประการใดก็ตาม แล้วเกิดอุบัติเหตุโดยพนักงานเป็นฝ่ายผิด ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดคุณในฐานะคนขับรถชนต้องรับผิดชอบคู่กรณีอย่างแน่นอน

แต่จะรับผิดชอบอย่างไร เราจะต้องมาพิจารณากันก่อนว่า บริษัทได้ทำประกันภัยรถยนต์ไว้หรือไม่ จากนั้นวิเคราะห์ต่อว่า พนักงานเป็นฝ่ายผิดจริงหรือไม่ ขับรถโดยประมาทเอง หรือว่าขับรถชนที่เกิดจากสาเหตุอื่น ตัวช่วยที่สำคัญคือ ลักษณะการชนในที่เกิดเหตุ ตัวผู้ขับขี่ กล้องวงจรปิด และกล้องติดรถยนต์

หากรถยนต์ของบริษัทคันดังกล่าวได้ทำประกันภัยรถยนต์ มาพิจารณากันต่อว่าบริษัททำประกันภัยรถยนต์ประเภทชั้นใด หากประกันชั้น 1 พนักงานและรถของบริษัทจะได้รับความคุ้มครองทุกกรณี ส่วนประกันภัยชั้น 2+ 3+ ก็ได้รับความคุ้มครองทุกกรณีอีกเช่นกัน เนื่องจากเป็นอุบัติเหตุการชนกับพาหนะทางบก รถชนรถ ถือว่ามีคู่กรณี

และพิจารณาต่อที่พนักงานที่ขับรถชนว่ามีพฤติกรรมขับขี่โดยประมาท ขับด้วยความเร็วเกินกำหนดหรือไม่ หรือ ขณะนั้นสุขภาพไม่แข็งแรง กินยาแก้แพ้มาหรือไม่ หรือมีโรคประจำตัว โรคลมชัก โรคหัวใจ เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติม : มีโรคประจำตัวขับรถชน ประกันรับผิดชอบหรือไม่

ไม่ว่าจะกรณีใด ประกันภัยรถยนต์ รับผิดชอบทุกกรณีหากได้ทำประกันภัยรถยนต์ไว้ เพราะบริษัทไม่ได้ระบุชื่อผู้ขับขี่ในกรมธรรม์แต่อย่างใด บริษัทประกันจึงให้ความคุ้มครองตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ที่ได้ทำไว้

สำหรับนายจ้างหรือบริษัทที่เป็นเจ้าของรถยนต์ ก็ต้องมีส่วนรับผิดชอบด้วยเช่นกัน เพราะรถยนต์เป็นของบริษัทที่พนักงานคนนั้นได้ขับรถไปชน เพราะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตร 425 “นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น ”

จากหลักกฎหมายจะเห็นได้ว่า บุคคลที่ต้องร่วมรับผิดคือ พนักงานที่ขับรถยนต์ และนายจ้างหรือบริษัท โดยพนักงานที่ขับรถยนต์ เป็นคนกระทำละเมิดโดยตรง หรือ คนอื่นที่มีส่วนในการกระทำละเมิดนั้น ๆ นายจ้างหรือบริษัทจะต้องรับผิดในทางการที่จ้างในผลแห่งละเมิดนั้น ๆ

นับว่าเป็นการคุ้มครองบุคคลภายนอกผู้เสียหายจากการละเมิดได้ดีในระดับหนึ่ง เพราะนายจ้างย่อมมีกำลังทางการเงินชำระค่าเสียหายมากกว่าลูกจ้างผู้กระทำผิดแน่นอน ดังนั้นหากมีการฟ้องนายจ้างให้รับผิดด้วย โอกาสที่จะได้รับการเยียวยาค่าเสียหายมีมากขึ้น กฎหมายจึงให้นายจ้างร่วมรับผิดกับลูกจ้าง

กรณีในลักษณะนี้ บริษัทประกันภัยจะเข้ามาร่วมรับผิดด้วยตามสัญญาประกันภัย แต่เมื่อหากมีการฟ้องคดีก็มักจะฟ้องบริษัทประกันภัยเป็นจำเลยร่วมด้วย แต่บริษัทประกันภัยจะยอมรับผิดไม่เกินไปกว่าวงเงินที่เอาประกันภัยไว้ เพราะผู้ที่ต้องรับผิดทั้งหมดคือลูกจ้างและนายจ้าง

จะเห็นได้ว่า เมื่อเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์อย่างกรณี พนักงานนำรถยนต์บริษัทไปใช้ในวันหยุด สิ่งที่จะเป็นตัวช่วยได้ดีที่สุดคือ การทำประกันภัยรถยนต์ติดรถไว้ เพราะไม่ว่าคุณจะทำประกันภัยรถยนต์ประเภทชั้นใด บริษัทประกันย่อมให้ความคุ้มครองคุณแน่นอน แต่จะมากน้อยหรือครอบคลุมทั้งหมดหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับการทำประกันภัยของคุณนั่นเอง

และถ้ายังสงสัยว่าจะทำประกันภัยรถยนต์ชั้นไหนดีให้เหมาะกับรถยนต์ของคุณ สามารถติดต่อเข้ามาได้ที่ อีซี่อินชัวร์โบรกเกอร์ ที่หมายเลข 02-801-9000 เรามีเจ้าหน้าที่ประกันภัยมืออาชีพให้คำแนะนำปรึกษาให้อย่างดี เราพร้อมให้ความช่วยเหลือยามเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ช่วยไกล่เกลี่ยสถานการณ์อุบัติเหตุให้จบลงด้วยดี หากเกิดอุบัติเหตุไม่ว่าจะเวลาใดก็สามารถโทรเรียกเจ้าหน้าที่ของอีซี่อินชัวร์ได้ทุกเวลา เราจะอยู่เป็นเพื่อนคอยช่วยเหลือสถานการณ์ให้จบลงด้วยดีเคียงข้างคุณ หากสนใจสามารถเช็คเบี้ยประกันออนไลน์ได้ก่อนที่ www.easyinsure.co.th ตลอด 24 ชั่วโมง

Loading

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *