พ.ร.บ.รถยนต์ กับ ภาษีรถยนต์ ต่างกันอย่างไร

พ.ร.บ.รถยนต์ กับ ภาษีรถยนต์ ต่างกันอย่างไร ทำไมถึงหมดไม่พร้อมกัน

เรียกได้ว่า ผู้ที่มีรถยนต์ทุกคนต่างมีหน้าที่ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ และ เสียภาษีรถยนต์ อยู่ทุกปี แต่สำหรับคนทั่วไป หรือ ผู้ที่ไม่มีรถยนต์อาจจะยังสงสัยว่า พ.ร.บ. รถยนต์ กับ ภาษีรถยนต์ คืออะไร ต่างกันอย่างไร เพื่อให้ความเข้าใจระหว่าง พ.ร.บ. รถยนต์ กับ ภาษีรถยนต์ ได้เป็นที่หายสงสัยกันกับคนทั่วไป เรามาทำความรู้จักกันให้มากขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อตัวคุณเองเมื่อเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน

พ.ร.บ.รถยนต์ คืออะไร

พ.ร.บ. ย่อมาจาก พระราชบัญญัติ ซึ่ง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

พ.ร.บ. คือเป็นกฎหมายที่บังคับให้รถทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกจะต้องทำ รถทุกคันต้องทำและมีไว้เพื่อเป็นหลักประกันให้กับคนในรถทุกคัน หรือผู้ที่ใช้รถใช้ถนนว่าจะได้รับสิทธิความคุ้มครองจากเงินกองกลางที่รถทุกคันได้ทำ พ.ร.บ. ว่า จะได้รับความคุ้มครอง/เงินค่ารักษาพยาบาลจากการเกิดอุบัติเหตุ หรือการประสบภัยจากรถในรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงที หากหมดอายุ จะต้องเสียค่าปรับเป็นเงิน 200 บาท หรือ หากเป็นรถที่ใช้งานอยู่แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนเสียภาษีจะต้องเสียค่าปรับเป็นเงิน 1,000 บาท

อ่านเพิ่มเติม : พรบ รถยนต์ คืออะไร กับความสำคัญและความคุ้มครองที่คุณต้องรู้

ภาษีรถยนต์ คืออะไร

ภาษีรถยนต์ คือ การต่อภาษีรถยนต์ หรือ การต่อทะเบียนรถยนต์ เรียกได้ว่าเมื่อคุณมีรถยนต์ การชำระภาษีรถยนต์เป็นสิ่งที่ต้องทำตามกฎหมายเป็นรายปี หากขาดการชำระภาษีติดต่อกันเป็นเวลานาน 3 ปี รถยนต์คันนั้นจะถูกระงับในส่วนของการใช้ทะเบียน หากนำมาขับโดยไม่ชำระภาษีจะต้องถูกตำรวจจับเสียค่าปรับอย่างแน่นอน และจะมีความยุ่งยากตามมาหากต้องการนำรถคันดังกล่าวมาใช้อีก จะต้องเสียเวลาในการยื่นเอกสารอีกมากมายทั้งเสียค่าปรับและเสียเวลาอีกอย่างแน่นอน

การต่อภาษีรถยนต์ สามารถต่อล่วงหน้าได้ก่อนทะเบียนหมดอายุไม่เกิน 3 เดือน แต่หากเสียภาษีล่าช้าจะถูกปรับเดือนละ 1% ของราคาภาษี (เศษวันนับเป็น 1 เดือน) และหากขาดชำระติดต่อกันนาน 3 ปี รถจะถูกระงับการใช้ทะเบียนและต้องทำเรื่องขอทะเบียนใหม่อีกครั้ง

พ.ร.บ.รถยนต์ กับ ภาษีรถยนต์ ต่างกันอย่างไร

ภาษีรถยนต์ หรือ ป้ายภาษี เป็นป้ายลักษณะสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่ต้องพกติดรถไว้ตลอดเวลา มีไว้เพื่อแสดงให้เห็นว่า รถยนต์คันดังกล่าวได้มีการชำระภาษีรายปีเรียบร้อยแล้ว

ส่วน พ.ร.บ. ปัจจุบันจะเป็นกระดาษ A4 โดยมีแถบสีเงินพร้อมข้อความว่า “สมาคมประกันวินาศภัย”พร้อมตราสัญลักษณ์สมาคม ทั้งนี้กฎหมายได้กำหนดไว้ว่า การต่อภาษีรถยนต์จะต้องแนบเอกสารส่วนท้ายของ พ.ร.บ. ที่ยังไม่หมดอายุไปด้วยถึงจะทำการต่อภาษีรถยนต์ได้

ทำไมต้องต่อพ.ร.บ.รถยนต์

  • กฎหมายได้กำหนดให้มีส่วนร่วมในการสร้างหลักประกันต่อสังคม
  • เป็นมาตรการการลดปัญหาทางสังคม ซึ่งไม่ต้องรอการพิสูจน์ความผิด
  • เป็นมาตรการบรรเทาผลร้ายต่อผู้เสียหายหากเกิดการรับผิดชอบ
  • เป็นการแบ่งเบาภาระของผู้ที่ขับขี่หรือเจ้าของรถหากต้องรับผิดชอบเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
  • เป็นหน้าที่ของเจ้าของรถยนต์ทุกคันที่ต้องถือปฏิบัติตามกฎหมายกำหนด
  • เป็นการแบ่งเบาภารถของรัฐด้านการรักษาทรัพยากรมนุษย์

ทำไมต้องเสียภาษีรถยนต์

ตามรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ว่า ประชาชนมีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามกฎหมายบัญญัติไว้ ซึ่งเงินที่จ่ายไปรัฐจะนำไปใช้ในการทำนุบำรุง บริหารจัดการประเทศ ซึ่งภาษีมีหลากหลายรูปแบบตั้งแต่ภาษีเงินได้ไปถึงภาษีสินค้าและบริการ

ซึ่งรถยนต์ก็ถือเป็นทรัพย์สินประเภทหนึ่งที่ต้องมีการชำระภาษีประจำปี เช่นเดียวกับ บ้านที่ดิน การที่เจ้าของรถไม่ชำระภาษีรถยนต์เป็นประจำทุกปีนั้น ย่อมมีโทษปรับ อัตราเทียบปรับตาม พรบ รถยนต์มีโทษปรับ 200 บาท และหากไม่สามารถแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจได้มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

การต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • สำเนาทะเบียนรถยนต์ หรือ เล่มทะเบียนรถจริง

การต่อ ภาษีรถยนต์ ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

  • หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถยนต์ หรือ ใบแทน
  • หลักฐานการทำ พ.ร.บ. ฉบับปัจจุบันที่ยังไม่หมดอายุ
  • หลักฐานรับรองการผ่านการตรวจสภาพรถ หากรถมีอายุเกิน 7 ปี ต้องขอใบตรวจอนุญาตรถ ( ต.ร.อ.) ด้วย
  • ค่าต่อภาษี ( ค่าต่อภาษีจะแตกต่างตามประเภทของรถยนต์ )

สำหรับการต่อ พ.ร.บ. หรือ ต่อภาษีรถยนต์ สามารถต่อได้ที่กรมการขนส่งแต่ละจังหวัด หรือ หากไม่สะดวกไปด้วยตัวเอง สามารถเรียกใช้บริการโบรกเกอร์ประกันภัยกับอีซี่อินชัวร์ได้ตลอดเวลา เรามีบริการต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ และ ชำระภาษีรถยนต์ ให้กับท่าน เมื่อได้เอกสารแล้วจะจัดส่งเอกสารส่งตรงถึงหน้าบ้านท่านอย่างสมบูรณ์แบบ

นอกจากนี้เรายังมีบริการทำประกันภัยรถยนต์ทุกประเภทในราคาเบี้ยที่ไม่แพง ให้ความคุ้มครองสูงสุด พร้อมบริการพิเศษอีกมากมาย เช่น บริการลากรถเมื่อรถยนต์ของท่านไม่สามารถเคลื่อนที่ได้เอง บริการเติมน้ำมัน หรือ บริการรถยนต์ให้ใช้ระหว่างซ่อม ซึ่งบริการดี ๆ เหล่านี้มีที่ อีซี่ อินชัวร์ โบรกเกอร์ประกันภัย เว็บไซต์ Easyinsure.co.th

Loading

2 thoughts on “พ.ร.บ.รถยนต์ กับ ภาษีรถยนต์ ต่างกันอย่างไร ทำไมถึงหมดไม่พร้อมกัน

  1. Pingback: ต่อภาษีรถยนต์ วันหยุด เสาร์และอาทิตย์ ทำที่ไหนได้บ้าง - Easyinsure

  2. Pingback: พรบ รถยนต์ คืออะไร คุ้มครองอะไรบ้าง ราคาเท่าไหร่ - Easyinsure

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *