พรบ รถยนต์

รู้ก่อนซื้อ พรบ รถยนต์ คืออะไร คุ้มครองอะไรบ้าง

กฎหมาย พรบ รถยนต์ หมายถึง พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 หรือเรียกว่าประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ เป็นกฎหมายที่เจ้าของรถ หรือผู้ครอบครองรถยนต์ต้องทำให้กับรถทุกคันที่ตนครอบครอง หากมีการฝ่าฝืนหรือไม่ยอมต่ออายุในแต่ละปี จะมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท

พรบ รถยนต์ คืออะไร

พ.ร.บ.รถยนต์ คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ให้ความคุ้มครองเฉพาะความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน โดยจะชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งไม่รวมไปถึงค่าเสียหายที่เกี่ยวกับรถ ในความคุ้มครองเกี่ยวกับรถเราจะต้องซื้อประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจเท่านั้น เช่น ประกันรถยนต์ชั้น 1 เป็นต้น

พรบ รถยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง

ความคุ้มครอง พรบ รถยนต์ มีหลายคนสงสัยว่าให้ความคุ้มครองกรณีใดบ้าง เช่น พ.ร.บ.รถยนต์ คุ้มครองคู่กรณีไหม หรือคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลอย่างไร ซึ่งเป็นข้อมูลที่คุณต้องศึกษาติดตัวเอาไว้ ดังนั้นมาดูตารางความคุ้มครองไปพร้อมกันเลย

ตารางความคุ้มครองประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ
ความคุ้มครอง วงเงินคุ้มครอง (บาท/คน)
1 จำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้น ได้รับโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด
1.1 ค่ารักษาพยาบาล จากการบาดเจ็บ (ตามจริง) 30,000
1.2 การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร 35,000
2 ค่าเสียหายส่วนที่เกินกว่าค่าเสียหายเบื้องต้น สำหรับผู้ประสบภัย
(จะได้รับภายหลังจากการพิสูจน์แล้วว่าไม่ได้เป็นฝ่ายละเมิด)
2.1 ค่ารักษาพยาบาล จากการบาดเจ็บ ไม่เกิน 80,000
2.2 สูญเสียอวัยวะ/ทุพพลภาพอย่างถาวร หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง 200,000-500,000
2.3 การเสียชีวิต 500,000
2.4 ชดเชยรายวัน 200 บาท รวมกันไม่เกิน 20 วัน กรณีเข้าพักรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลในฐานะคนไข้ใน สูงสุดไม่เกิน 4,000

หมายเหตุ :

  • ผู้ขับขี่ที่กระทำละเมิด (ฝ่ายผิด) จะได้รับแค่ ความคุ้มครอง ค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น
  • ผู้ประสบภัย หมายถึง ผู้ขับขี่ที่ถูกละเมิด ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอก
  • จำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของจำนวนเงินคุ้มครองผู้ประสบภัย (ดูในกรมธรรม์)

ตัวอย่าง พ.ร.บ.รถยนต์

ตัวอย่าง พรบ รถยนต์
ตัวอย่าง พรบ รถยนต์ หรือหน้าตาของประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ

เชื่อไหมว่าบางคนไม่รู้จักหน้าตา พ.ร.บ. รถยนต์ ซึ่งไม่ผิดที่จะไม่ทราบ เพราะว่าหลายคนสับสนเกี่ยวกับ พ.ร.บ.รถยนต์ กับ ป้ายภาษีรถยนต์ (ป้ายวงกลม) โดยเฉพาะบางคนเรียกสลับกันไปมาจนทำให้ตนเองสับสน ทั้งๆที่ติด พ.ร.บ.รถยนต์ ไว้บนกระจกรถทุกวัน หากยังสงสัยให้อ่านเพิ่มเติมจากลิงค์ด้านล่างนี้

อ่านเพิ่มเติม พรบ รถยนต์ และ ภาษีรถยนต์ ต่างกันอย่างไร ?

พรบ รถยนต์ ราคาเท่าไหร่

ในส่วนของราคา พ.ร.บ.รถยนต์ หรืออัตราค่าเบี้ยประกันภัยคงที่ โดยไม่รวมภาษีอากร จะมีราคาพื้นฐาน ดังนั้นคำว่าราคาถูกหรือแพง ขึ้นอยู่กับว่านายหน้าที่รับต่อ พรบ คิดกี่บาทเท่านั้น ซึ่งค่าใช้จ่ายในการต่อ พรบ รถยนต์ มีดังนี้

อัตราค่าเบี้ยประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ
ประเภทรถยนต์ ส่วนบุคคล
(บาท/ปี)
รับจ้าง/ให้เช่า/สาธารณะ
(บาท/ปี)
รถยนต์โดยสาร
รถยนต์โดยสารที่นั่งไม่เกิน 7 คน (พรบ รถเก๋ง) 600 1,900
รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน ไม่เกิน 15 ที่นั่ง (พรบ รถตู้) 1,100 2,320
รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 15 ที่นั่ง ไม่เกิน 20 ที่นั่ง 2,050 3,480
รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 20 ที่นั่ง ไม่เกิน 40 ที่นั่ง 3,200 6,660
รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 40 ที่นั่ง 3,740 7,520
รถยนต์บรรทุก
รถยนต์บรรทุกน้ำหนักไม่เกิน 3 ตัน (พรบ รถกระบะ) 900 1,760
รถยนต์บรรทุกน้ำหนักเกิน 3 ตัน ไม่เกิน 6 ตัน 1,220 1,830
รถยนต์บรรทุกน้ำหนักเกิน 6 ตัน ไม่เกิน 12 ตัน 1,310 1,980
รถยนต์บรรทุกน้ำหนักเกิน 12 ตัน 1,700 2,530
รถยนต์บรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊ส หรือกรด ขนาดน้ำหนักรวมไม่เกิน 12 ตัน 1,680 1,980
รถยนต์บรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊ส หรือกรด ขนาดน้ำหนักรวมเกิน 12 ตัน 2,320 3,060
รถยนต์ประเภทอื่นๆ
หัวรถลากจูง 2,370 3,160
รถพ่วง 600 600
รถป้ายแดง (สำหรับการค้ารถยนต์) 1,530 1,530
รถยนต์ที่ใช้ในการเกษตร 90 90
รถยนต์ประเภทอื่นๆ 770 770
รถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า
รถยนต์ไฟฟ้า 600 1,900

ข้อมูลอัตราเบี้ย พ.ร.บ.รถยนต์ จาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)

พรบ รถยนต์ ขาดได้กี่วัน

หากคุณคือหนึ่งคนที่พบปัญหา พรบ รถยนต์ หมดอายุ หรือขาดต่ออายุ จะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ไม่มีค่าปรับจากขนส่งใดๆทั้งสิ้น แต่ถ้าโดนเจ้าหน้าที่ตำรวจเรียกตรวจสอบ แล้วพบว่าขาดต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ คุณจะโดนโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท ถ้าหากเกิดอุบัติเหตุขึ้น ไม่มีการคุ้มครองใดๆทั้งสิ้น ดังนั้นถ้าถามว่าขาดได้กี่วัน ต้องตอบว่าปล่อยขาดไม่ได้เลยแม้แต่วันเดียวนั่นเอง

ซื้อ พ.ร.บ.รถยนต์ ออนไลน์ คุ้มกว่าอย่างไร

สำหรับเพื่อนๆที่ต้องการซื้อ พรบ รถยนต์ ผ่านช่องทางออนไลน์ ปัจจุบันถือว่าสะดวกสบายมากกว่าเดิม เนื่องจากช่องทางนี้ทาง คปภ. ได้จัดทำบริการ e-service ทำผ่านออนไลน์ง่ายๆ ไม่กี่นาทีก็สามารถต่อ พรบ ออนไลน์ ได้ทันที ซึ่งขั้นตอนการซื้อ พรบ ออนไลน์ สามารถทำได้ตามลิงค์แนะนำด้านล่างนี้

อ่านเพิ่มเติม ซื้อ พรบ ออนไลน์ ใช้อะไรบ้าง ที่ไหนดี ราคาถูก ที่นี่มีคำตอบ

หรือหากต้องการเช็คเบี้ยประกันภัยรถยนต์ เพิ่มเติม ก็สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยตนเอง เช็คเบี้ยประกันภัยรถยนต์

Loading

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *