เทคนิคการเจรจากับคู่กรณี เมื่อเราเป็นฝ่ายถูก

เทคนิคการเจรจากับคู่กรณีเมื่อเราเป็นฝ่ายถูก แต่คู่กรณีไม่ยอมรับผิด อย่าพึ่งหัวร้อนล่ะ !

เทคนิคการเจรจากับคู่กรณี เมื่อเราเป็นฝ่ายถูก

เมื่อเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนขึ้น สิ่งแรกที่ต้องทำคือ ต้องตั้งสติ ไม่ว่าอุบัติเหตุนั้นคุณจะเป็นฝ่ายถูกหรือผิด และพยายามเช็กรอบตัวคุณก่อนว่าได้รับบาดเจ็บหรือมีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือไม่ หากมีผู้บาดเจ็บ และเสี่ยงจะเสียชีวิตจากเหตุการณ์อุบัติเหตุ คุณจะต้องโทรแจ้งหน่วยงานฉุกเฉิน 1169 หรือ โรงพยาบาลก่อน เพื่อขอความช่วยเหลือดูแลผู้บาดเจ็บก่อนเป็นอันดับแรก

สำหรับการโทรแจ้งเคลมสดกับเจ้าหน้าที่ประกันภัยรถยนต์ ต้องระบุข้อมูลอุบัติเหตุ ดังนี้

  • แจ้งข้อมูลส่วนตัว พร้อมเลขที่กรมธรรม์ประกันภัย
  • ระบุสถานที่เกิดเหตุ เมื่อไหร่ อย่างไร
  • ตรวจเช็คสภาพรถยนต์ของเราหลังจากเกิดเหตุ พร้อมกับถ่ายภาพความเสียหายเอาไว้เพื่อเป็นหลักฐาน
  • อุบัติเหตุครั้งนี้มีคู่กรณีหรือไม่ และ มีข้อมูลของคู่กรณีไหม ชื่อนามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ เลขป้ายทะเบียน รายละเอียดกรมธรรม์ ใบอนุญาตขับขี่ บัตรประชาชน
  • รอเจ้าหน้าที่ประกันภัยเดินทางมาที่เกิดเหตุ

และในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุแล้ว เราเป็นฝ่ายถูก แต่ไม่มีประกันรถยนต์ อาจจะต้องมีหลักฐานให้มากที่สุดคือ

กรณีเกิดอุบัติเหตุแล้ว รถยนต์ของคุณไม่มีประกันภัยรถยนต์ ต้องทำการแจ้งความลงบันทึกประจำวัน หรือพยายามตกลงกับคู่กรณีด้วยตนเอง กรณีที่เราไม่ผิดแนะนำให้เก็บวีดีโอในที่เกิดเหตุเอาไว้เป็นหลักฐานประกอบด้วย แต่หากคู่กรณีมีประกันภัยก็จะต้องเจรจากับเจ้าหน้าที่ประกันภัยเพื่อตกลงค่าเสียหายและอื่น ๆ พร้อมกับเจรจากัน

หรือกรณีไม่มีประกันภัยรถยนต์ทั้งคู่ ก็ต้องเดินทางไปโรงพักเสียค่าปรับเบื้องต้นพร้อมกับเจรจาค่าเสียหายต่อรองกันเองตามความเหมาะสม ซึ่งจะต้องมีเอกสารให้เห็นชัดเจนว่าชำระเงินแล้ว หากฝ่ายผิดไม่จ่ายเงินก็จะต้องขึ้นฟ้องศาลตามขั้นตอนทางกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240 ระบุว่า

“ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอื่น โดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิด จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น”

ทั้งนี้สามารถเรียกร้องได้หลายกรณี เช่น กรณีรถยนต์เสียหาย กรณีเสียชีวิต กรณีค่ารักษาพยาบาล หรือค่าขาดประโยชน์ไม่สามารถหารายได้เนื่องจากบาดเจ็บจากอุบัติเหตุนั้น ๆ และอื่น ๆ ตามที่ศาลเห็นสมควร

เกิดอุบัติเหตุรถชน เราเป็นฝ่ายถูก แต่คู่กรณีไม่ยอมรับผิด ทำอย่างไรดี

  1. รีบถ่ายรูปเหตุการณ์อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นทันที ถ่ายรูปให้ทั่วทุกมุม ก่อนมีการเคลื่อนย้าย
  2. เช็คกล้องหน้ารถยนต์ของเราว่าได้บันทึกภาพขณะเกิดเหตุอุบัติเหตุได้ครบหรือไม่
  3. โทรแจ้งเจ้าหน้าที่ประกันภัย เพื่อให้รีบมาช่วยเจรจากับคู่กรณีที่ไม่ยอมรับผิด
  4. หากจำเป็นอาจจะโทรแจ้งตำรวจ ให้เข้ามาช่วยเจรจาหรือเป็นพยานให้กับเราในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ยิ่งเป็นผู้หญิง สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องมีพยานมากหน่อย เพราะผู้หญิงเป็นเพศที่ตกใจง่าย อาจจะคิดว่าสู้คู่กรณีไม่ได้ ก็ตกลงยอมความง่าย ๆ ทั้ง ๆ ที่เป็นฝ่ายถูก
  5. หาพยาน ลองมองไปข้าง ๆ เพื่อดูว่าพอมีใครเห็นเหตุการณ์ อาจเป็นคนเดินถนนหรือรถคันข้าง ๆ หากเขายินยอมเป็นพยานให้คุณก็จดชื่อและที่อยู่เบอร์โทรศัพท์เพื่อติดต่อไว้
  6. หาข้อมูลเพิ่มเติม โดยหาข้อมูลของฝ่ายคู่กรณีไว้จดรูปพรรณ รูปร่างหน้าตา เพศ และ รถยี่ห้ออะไร สีรถ เลขทะเบียนรถไว้ เวลาและสถานที่เกิดเหตุไว้
  7. จำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้แม่น เพราะบางทีพอเกิดอุบัติเหตุแล้วอาจจะสติแตกจนหลงลืมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด เพราะบางทีกล้องอาจบันทึกได้ไม่ครบทุกมุม
  8. ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง อย่าเข้าข้างตัวเอง เพราะหากสืบข้อมูลหลักฐานได้ อาจถูกข้อหาให้การเท็จได้
  9. อย่าเพิ่งรีบร้อนยอมความ หากเราเป็นฝ่ายถูก หลังเกิดอุบัติเหตุและสงสัยว่าคุณจะได้รับบาดเจ็บ อย่าเพิ่งรีบรับข้อเสนอให้ยอมความ เพราะการบาดเจ็บอาจต้องใช้เวลาสักพักกว่าจะรู้สึกว่าเจ็บ ปวดบริเวณไหน หากคุณยอมความไปแล้ว การเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มเติมจะทำได้ยากขึ้น

เทคนิคที่สามารถจะช่วยคุณได้ กรณีคุณเป็นฝ่ายถูกแต่คู่กรณีไม่ยอมรับผิดที่คุณสามารถนำไปใช้ได้ แต่ที่สำคัญคือจำไว้เสมอว่า เมื่อเกิดอุบัติเหตุสิ่งแรกที่ต้องทำคือ ตั้งสติ แต่หากได้รับบาดเจ็บก็ควรที่จะเช็คอาการให้เรามีสติพร้อมที่จะโทรหาเจ้าหน้าที่ประกันก่อน จึงค่อยทำตามเทคนิคดังกล่าวน่าจะพอช่วยคุณได้กับเหตุการณ์ดังกล่าวนี้ ไม่มากก็น้อย ดังนั้นก่อนขับรถก่อนสตาร์รถต้องเช็คสภาพตัวเองก่อนเสมอว่าสติครบหรือไม่ และขับรถความเร็วพอประมาณ ขับรถถูกต้องตามกฎหมายจราจร เพียงแค่นี้คุณก็จะขับรถอย่างปลอดภัยทุกสถานที่

Loading

One thought on “เทคนิคการเจรจากับคู่กรณีเมื่อเราเป็นฝ่ายถูก แต่คู่กรณีไม่ยอมรับผิด อย่าพึ่งหัวร้อนล่ะ !

  1. Pingback: คู่กรณีเรียกค่าเสียหายเกินจริง แบบนี้ควรทำอย่างไร - Easyinsure

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *