รถชนกันบนไหล่ทาง

รถชนกันบนไหล่ทาง ประกันจ่ายไหม เมื่อเราเป็นฝ่ายผิด

รถชนกันบนไหล่ทาง

แน่นอนว่า อุบัติเหตุเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะรถชนกันบนท้องถนน หรือ รถชนกันบนไหล่ทาง ขับรถฝ่าไฟแดง หลับใน มึนเมา ทำให้เบรกรถไม่ทันจึงเกิดอุบัติเหตุเหล่านี้ขึ้นได้ เป็นต้น

ประเด็นตามมาคือเมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้ว เราได้ทำประกันภัยรถยนต์หรือไม่ ยิ่งเป็น ขับรถชนกันบนไหล่ทาง แล้วเราเป็นฝ่ายผิด ประกันภัยคุ้มครองหรือไม่ ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกับกรณีตัวอย่างก่อนว่ามีอะไรบ้าง

กรณีตัวอย่างคือ รถยนต์เสียหลักลงข้างทาง รถยนต์เสียหลักจากฝนตกถนนลื่น รถยนต์แหกโค้ง รถยนต์เสียหลักผลิกคว่ำ เหล่านี้คืออุบัติเหตุรถเสียหลัก

แล้วเมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชนกันบนไหล่ทาง กรณีเราเป็นฝ่ายผิดด้วยแล้ว ประกันภัยคุ้มครองหรือไม่ จากคำถามนี้ ประกันภัยคุ้มครองผู้ที่ทำประกันภัยชั้น 1 ที่กล่าวว่า คุ้มครองรถเราและตัวเรา รวมถึงผู้โดยสารในรถเรา และในกรณีที่ชนหรือประสบอุบัติเหตุแบบไม่มีคู่กรณีด้วยนั้นเอง

อ่านเพิ่มเติม : ประกันชั้น 1 คุ้มครองอะไรบ้าง

แต่สำหรับประกันภัยรถยนต์ชั้น 2, 2+, 3+ และชั้น3 ไม่ได้ให้ความคุ้มครอง เพราะประกันภัยรถยนต์ชั้น 2 และ 3 ไม่ให้ความคุ้มครองในส่วนของค่าซ่อมรถเรา เพราะจะคุ้มครองในส่วนของทรัพย์สินภายนอกหรือคู่กรณีเราเท่านั้น

ประกันรถยนต์ชั้น 2+ 3+ ไม่ให้ความคุ้มครองในกรณี รถชนกันบนไหล่ทาง เพราะ “คุ้มครองเฉพาะการชนกับคู่กรณีที่เป็นยานพาหนะทางบกเท่านั้น ” หรือ ครอบคลุมแค่กรณีรถชนรถเท่านั้น (ตามคำอธิบายจากเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ )

สำหรับคำอธิบายแนบท้ายเอกสารแนบท้ายความคุ้มครองความเสียหายจากการชนกับยานพาหนะทางบก ร.ย.ภ. 10 คือ ข้อ 1 ข้อตกลงคุ้มครอง ความเสียหายต่อรถยนต์ บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างระยะเวลาประกันภัยต่อรถยนต์รวมทั้งอุปกรณ์ เครื่องตกแต่ง หรือสิ่งที่ติดประจำอยู่กับตัวรถยนต์ อันมีสาเหตุมาจากการชนกับยานพาหนะทางบก

ทั้งนี้ความเสียหายดังกล่าวให้รวมถึงความเสียหายที่เกิดจากไฟไหม้ ที่มีสาเหตุโดยตรงกับการชนยานพาหนะทางบก ไม่ว่าจะเกิดจากความประมาทของรถยนต์คันที่เอาประกันภัย หรือคู่กรณี และ ผู้เอาประกันภัย สามารถแจ้งให้บริษัทราบถึงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้

คำว่า ยานพาหนะทางบกตามกรมธรรม์ประกันภัยนี้ หมายถึง รถที่เดินด้วยกำลังเครื่องยนต์โดยใช้พลังงานเชื้อเพลิง เช่นน้ำมัน ก๊าซ หรือกำลังไฟฟ้า และรวมถึงรถพ่วง รถไฟ รถราง

  • คู่กรณีที่เป็นยานพาหนะทางบกมีอะไรบ้าง

ความหมายของคำว่าคู่กรณีที่เป็นยานพาหนะทางบกตามที่ได้กล่าวไว้แล้วเบื้องต้น นั่นคือจะนับเฉพาะรถยนต์ รถมอเตอร์ไซด์ หรือ ยานพาหนะใด ๆ ที่ใช้เครื่องยนต์ ไม่ว่าจะไฟฟ้า น้ำมัน หรือ ก๊าซขับเคลื่อน ไม่วาจะจดทะเบียน หรือยังไม่มีทะเบียน นับเป็นยานพาหนะทางบกทั้งหมด หากชนกับที่พูดถึงประกันจะคุ้มครองเราด้วย

แต่สำหรับกรณีถ้าเกิดชนกับจักรยานจะไม่นับรวมว่าเป็นยานพาหนะทางบก หากทำประกันชั้น 2, 2+, 3+ และชั้น3 จะให้ความคุ้มครองเฉพาะจักรยานและรักษาพยาบาลคนขี่จักรยานเท่านั้น ไม่ซ่อมรถให้กับเรา แต่ยังจ่ายค่ารักษาพยาบาลในกรณีที่เราบาดเจ็บ

  • รถชนกันบนไหล่ทางประกันรับผิดชอบอย่างไร

ในกรณีเกิดอุบัติเหตุจากรถชนรถจนส่งผลให้รถตกข้างทาง เช่น เฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์และเสียหลักรถตกลงข้างทาง ซึ่งแบบนี้จะได้รับความคุ้มครองและบริษัทประกันต้องรับผิดชอบความเสียหายทั้งหมด เนื่องจากเกิดจากรถชนรถจนส่งผลให้รถเราเสียหลักตกข้างทาง แต่ถ้ากรณีหลับในแล้วรถตกข้างทางแบบนี้ ประกันชั้น 2+ และ 3+ ไม่คุ้มครองค่าซ่อมรถเรา เพราะไม่ได้มีสาเหตุจากรถชนรถนั่นเอง

  • ข้อดีของการทำประกันภัยที่คุ้มครองกรณีรถตกข้างทาง
  1. ทำประกันภัยรถชั้น 1 สามารถครอบคลุมคุ้มครองความเสียหายได้ทั้งหมด
  2. ประกันชั้น 2+ 3+ ก็คุ้มครองในกรณีรถตกไหล่ทาง ทั้งนี้ให้ดูตามที่ระบุในกรมธรรม์ที่เราทำ
  3. หากเกิดเหตุขึ้น มีความคุ้มครองในส่วนนี้ทำให้เราได้รับการดูแลค่าเสียหายรถ และ ค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทประกันภัย
  4. ไม่ต้องเสียเงินค่าซ่อมรถ และค่ารักษาพยาบาลเอง ถ้าอยู่ในเงื่อนไขกรมธรรม์ทำให้เราประหยัดเงินได้

สรุปได้ว่ากรณี รถชนกันบนไหล่ทาง ประกันภัยชั้น 1 ให้ความคุ้มครองรถเราและตัวเรา รวมถึงผู้โดยสารในรถเรา และ กรณีชนแบบไม่มีคู่กรณี จึงเห็นได้ว่าการทำประกันภัยรถยนต์โดยเฉพาะ ประกันภัยชั้น 1 เป็นสิ่งที่จะช่วยแบ่งเบาภาระให้กับเราได้ทั้งค่าซ่อมรถและค่ารักษาพยาบาลได้เป็นอย่างดี

อ่านเพิ่มเติม : เคลมประกันชั้น 1 แบบไม่มีคู่กรณี ทำยังไง อ่านเพียงไม่กี่นาทีก็เข้าใจ

และหากท่านต้องการคำปรึกษาหรือรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ อีซี่อินชัวร์ฯ โบรกเกอร์ประกันภัย เรามีเจ้าหน้าที่ประกันภัยให้คำปรึกษากับท่านได้ตลอดเวลา หรือหากท่านต้องการเช็คเบี้ยประกันภัยออนไลน์ก่อนได้ที่ Easyinsure.co.th หรือโทร 02-801-9000 ตลอด 24 ชั่วโมง

Loading

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *