ผู้เอาประกันภัย

ผู้เอาประกันภัย หมายถึงใคร ทำไมถึงระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย

ผู้เอาประกันภัย

ตามที่ทราบกันดีว่าการทำประกันภัย คือการบริหารจัดการความเสี่ยงรูปแบบหนึ่ง โดยจะต้องมีองค์ประกอบอยู่ 3 ส่วนเข้ามาเกี่ยวข้องกัน ได้แก่ส่วนของ ผู้เอาประกันภัย (Insurerd) หรือ ผู้ถือกรมธรรม์ (Policy Holder) ผู้รับประกันภัย (Insurer) และ ผู้รับผลประโยชน์ (Beneficiary) แล้วเพื่อน ๆ สงสัยกันหรือไม่ว่า ผู้รับประกันภัย และผู้เอาประกันภัยมีความหมายว่าอย่างไร บริษัทประกันเค้าระบุคำนี้เค้าหมายถึงใคร โดยในวันนี้เราจะมาไขคำตอบกับคำว่า ผู้เอาประกันภัยหมายถึงใคร มีความสำคัญอย่างไรกับการทำประกันภัย

ผู้เอาประกันภัยหมายถึงใคร…?

ผู้เอาประกันภัย หมายถึง คู่สัญญาประกันภัยซึ่งมีหน้าที่เปิดเผยข้อความจริงต่อผู้รับประกันภัย ตลอดจนมีหน้าที่ชำระเบี้ยประกันภัย และเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นในส่วนที่เอาประกันภัยไว้ ผู้เอาประกันภัยก็มีสิทธิ์ในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง

ความสำคัญของการทำประกันภัย

  • ความสำคัญของการประกันภัยต่อผู้เอาประกันภัย การให้ความคุ้มครองและเป็นหลัก ประกันความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สินให้กับชีวิตของตนเองและครอบครัว
  • ความสําคัญของการประกันภัยต่อสังคม เป็นหลักประกันความมั่นคงให้กับผู้เอาประกันภัย และช่วยแบ่งเบาภาระของสังคมทำให้เกิดความมั่นใจ เกิดอุบัติเหตุและความเสียหาย ขึ้นผู้ประสบภัย จะได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
  • ความสำคัญการประกันภัยต่อเศรษฐกิจ เงินที่ได้จากการเก็บเบี้ยประกันภัย เป็นแหล่งเงินทุน เช่น สินเชื่อ SME ที่สำคัญอย่างหนึ่งของประเทศในการกู้เงินมาลงทุนทำธุรกิจ หรือขยายธุรกิจ ให้มีความเจริญก้าวหน้า สำหรับธุรกิจที่ทำประกันภัยจะได้รับความคุ้มครองในสิ่งที่ได้ ทำ ประกันภัยไว้ทำให้เกิดความมั่นคงในกิจการ

หน้าที่ของผู้เอาประกันภัย

  • ผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่เปิดเผยความจริง ต้องแถลงข้อเท็จจริงขณะทำสัญญา หน้าที่ในการชำระเบี้ย ถ้าไม่ชำระเบี้ยประกันภัยผู้รับประกันภัยมีสิทธิ์ จะฟ้องร้อง ให้ชำระตามสัญญาได้และถ้าเกิดเหตุการณ์ขึ้นในระหว่างนั้น ผู้เอาประกันภัยก็ไม่มีสิทธิ์เรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
  • ผู้เอาประกันภัยจะต้องบอกกับผู้รับประกันภัยอย่างเร่งด่วน เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นตามสัญญาประกันภัย
  • ผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญา ถ้าไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญา ผู้รับประกันภัยมีสิทธิ์ไม่จ่ายค่าเรียกร้องสินไหม

ทำไมผู้เอาประกันภัยถึงต้องทำประกันภัย

เพื่อประโยชน์ต่อผู้เอาประกันภัย ในการทำ ประกันรถยนต์ และประกันภัยประเภทอื่นๆ เช่น ประกันการเดินทาง ประกันสุขภาพ ประกันธุรกิจ ประกันบ้าน มีความสำคัญอย่างไร ทำไมถึงต้องทำ ไม่ทำได้ไหม มาดูคำตอบกันเลย

  • ผู้เอาประกันภัย จะได้รับประโยชน์จากความคุ้มครองต่อบุคคลครอบครัวทรัพย์สินของผู้เอาประกัน
  • ช่วยปลูกฝังให้เกิดนิสัยประหยัดและช่วยให้เกิดการออมประโยชน์ต่อธุรกิจ
  • ช่วยให้เกิดความมั่นคงในการประกอบธุรกิจ
  • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ เพราะผู้บริหารไม่ต้องเสียเวลาเป็นกังวลเกี่ยวกับการเสี่ยงภัย
  • ช่วยส่งเสริมธุรกิจต่างประเทศให้เจริญก้าวหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงภัยมากๆ เช่น ประกันภัยทางทะเลและขนส่งสินค้า
  • ช่วยให้เกิดเสถียรภาพในต้นทุนการผลิต
  • ช่วยการขยายเครดิตลดความเสี่ยงของผู้ให้กู้จะไม่สูง

หน้าที่ของผู้เอาประกันภัยในการชำระเบี้ยประกันภัย

การชำระเบี้ยประกันภัยต้องชำระก่อนหรือในวันถึงกำหนดชำระ โดยบริษัทจะออกใบรับเงินเบี้ยประกันภัยให้ไว้เป็นหลักฐาน

ในกรณีที่บริษัทยินยอมให้มีการชำระเบี้ยประกันภัยเป็นรายงวดน้อยกว่าหนึ่งปี จำนวนเบี้ยประกันภัยที่ชำระให้บริษัทยังไม่เต็มปีนั้น เป็นหนี้สินที่บริษัทจะต้องหักออกจากจำนวนเงินที่จะพึงจ่ายตามกรมธรรม์

ผู้เอาประกันภัยสามารถเปลี่ยนแปลงงวดการชำระเบี้ยประกันภัยได้ โดยต้องทำเป็นหนังสือขอเปลี่ยนแปลงวิธีการชำระเบี้ยประกันภัยไปยังบริษัท และการเปลี่ยนแปลงจะมีผลบังคับเมื่อบริษัทอนุมัติ

การชำระเบี้ยประกันภัย ให้ชำระเป็นเงินสด หรือ การชำระเบี้ยประกันภัยด้วยตั๋วสัญญาใช้เงิน เช็ค ดร๊าฟท์ หรือวิธีอื่นใดจะถือว่าได้ชำระเบี้ยประกันภัยต่อเมื่อเรียกเก็บเงินสดได้แล้ว

ระยะเวลาผ่อนผันการชำระเบี้ยประกันภัย

หากผู้เอาประกันภัยมิได้ชำระเบี้ยประกันภัยเมื่อครบกำหนดชำระเบี้ยประกันภัย บริษัทจะผ่อนผันให้เป็นเวลาสามสิบเอ็ดวัน (31 วัน) กรณีเป็นกรมธรรม์ประเภทสามัญ นับแต่วันครบกำหนดชำระเบี้ยประกันภัย โดยบริษัทจะถือว่าในระหว่างระยะเวลาผ่อนผันกรมธรรม์ยังคงมีผลบังคับ ถ้าผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตลงในระหว่างเวลาผ่อนผัน บริษัทจะหักเบี้ยประกันภัยที่ค้างชำระในรอบปีกรมธรรม์นั้นออกจากจำนวนเงิน ซึ่งบริษัทจะชดใช้ตามกรมธรรม์นี้โดยไม่คิดดอกเบี้ย

สิทธิและการใช้สิทธิในกรมธรรม์ของผู้เอาประกันภัย

  • สิทธิและการใช้สิทธิ์ในกรมธรรม์นี้หากมิได้กำหนดมอบให้บุคคลอื่นใดโดยเฉพาะแล้วให้ถือว่าเป็นผู้เอาประกันภัยแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น
  • การกำหนดมอบสิทธิและการใช้สิทธิในกรมธรรม์ให้บุคคลอื่น จะต้องทำเป็นหนังสือแจ้งบริษัทและได้รับความเห็นชอบจากบริษัทแล้ว

การโอนประโยชน์แห่งสัญญาประกันภัย

ในระหว่างที่กรมธรรม์ยังมีผลบังคับแม้ผู้เอาประกันภัยไม่ได้เป็นผู้รับผลประโยชน์เอง ก็มีสิทธิ์ที่จะโอนประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยนี้ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง ที่ไม่ใช่ ผู้รับประโยชน์ก็ได้ เว้นแต่ส่งมอบกรมธรรม์โดยใช้วิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ เข้าสู่ระบบข้อมูลของผู้รับประโยชน์แล้ว และ ผู้รับประโยชน์ได้บอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังบริษัทแล้วว่า ตนจำนงจะถือเอาประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยนี้

การโอนประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยจะไม่ผูกพันบริษัทจนกว่าผู้เอาประกันภัยได้แจ้งการโอนประโยชน์ดังกล่าวให้บริษัททราบเป็นหนังสือ และได้บันทึกสลักหลังกรมธรรม์แล้ว แต่บริษัทไม่ต้อง รับผิดชอบต่อความสมบูรณ์ของการโอนประโยชน์ และบริษัทไม่ต้องรับผิดถ้าได้จ่ายจำนวนเงิน อัน พึงชดใช้ตามสัญญาประกันภัยให้กับผู้มีสิทธิ์ไปโดยไม่ทราบถึงการโอนประโยชน์ดังกล่าว

สิทธิในการขอยกเลิกกรมธรรม์

หาก ผู้เอาประกันภัย ประสงค์จะยกเลิกกรมธรรม์นี้ด้วยเหตุผลใดก็ตาม สามารถส่งคืนกรมธรรม์มายังบริษัทภายใน 15 งัน นับแต่วันที่ได้รับกรมธรรม์จากบริษัท เว้นแต่บริษัทได้ออกกรมธรรม์ให้แก่ผู้เอาประกันภัย โดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ต้องส่งคืนกรมธรรม์ และบริษัทจะคืนเบี้ยประกันภัยเต็มจำนวน โดยไม่หักค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น กรณีใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนแล้ว ไม่มีสิทธิยกเลิกกรมธรรม์ฉบับนี้

Loading

9 thoughts on “ผู้เอาประกันภัย หมายถึงใคร ทำไมถึงระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย

  1. Pingback: อายุรถเกิน 10 ปี ต่อประกันชั้น 1 หรือทำประเภทอื่น ๆ คุ้มกว่ากัน ? - Easyinsure

  2. Pingback: ให้เช่ารถแล้วรถหาย ผู้เช่าไม่เอามาคืน แบบนี้ประกันคุ้มครองไหม - Easyinsure

  3. Pingback: ถูกยิงเสียชีวิตในรถ ประกันคุ้มครองอย่างไรบ้าง เรียกร้องอะไรได้บ้าง

  4. Pingback: รถชนกันบนไหล่ทาง ประกันจ่ายไหม หากเราเป็นฝ่ายผิดคุ้มครองอย่างไร

  5. Pingback: ผู้รับผลประโยชน์ ในกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ หมายถึงใครกันแน่

  6. Pingback: ประกันวินาศภัย คืออะไร มีกี่ประเภท มาทำความรู้จักไปพร้อมกันเลย ในปี 2562

  7. Pingback: ซื้อประกันรถยนต์ผ่านโบรกเกอร์ดีไหม หรือบริษัทประกันภัยโดยตรงดีกว่า

  8. Pingback: โอนประกันรถยนต์ เมื่อคุณซื้อรถมือสองต่อจากคนอื่น ในแบบที่คุณก็ทำเองได้

  9. Pingback: ประกันโรคร้ายแรง 43 โรคร้าย คุ้มครองโรคอะไรบ้าง ลดหย่อนภาษีได้ไหม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *